ทีมงานแบไต๋ขอรีวิว Canon EOS 80D กล้อง APS-C ระดับกลางรุ่นล่าสุดของแคนอนให้ดูกัน ที่ปรับปรุงการถ่ายภาพนิ่งให้มีคุณภาพสูงขึ้น Dynamic Range ดีขึ้น แถมยังสู้กับแสงกระพริบได้เป็นอย่างดี ส่วนการถ่ายวิดีโอที่เป็นจุดเด่นเดิมของ 70D ก็ปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วย พร้อมเลนส์คิทตัวใหม่ที่ออกแบบมารองรับการถ่ายวิดีโอโดยเฉพาะ!
สเปกกล้อง
- ความละเอียดภาพ 24.2 ล้านพิกเซล บนเซนเซอร์ dual-pixel CMOS ขนาด APC-S (ของเดิม 20.2 ล้าน) Advanced Photo System type-C
- จุดโฟกัสแบบ Cross-type 45 จุด (70D มี 19 จุด)
- หน่วยประมวลผล Digic 6 ทำให้ทำงานเร็วขึ้น คุณภาพภาพดีขึ้น (70D ใช้ Digic 5+)
- Iso 100 – 16000 ขยายได้ถึง 25600
- Viewfinder ที่แสดงรายละเอียดมากกว่าเดิม และครอบคลุมการแสดงภาพ 100%
- ถ่ายวิดีโอได้คุณภาพสูงสุด 1080/60p จาก 70D ที่ถ่ายได้แค่ 1080/30p
- ถ่ายภาพต่อเนื่อง 7 ภาพต่อวินาที ถ้าอยู่ในโหมด Silent Shutter ได้ 3 ภาพ/วินาที และ Live view ได้ 5 ภาพ
- บอดี้ทนทานต่อสภาพอากาศ
- แบตเตอรี่เคลมว่าถ่ายภาพได้ 960 ภาพต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ถือว่าอึดมาก
- เบากว่า Canon EOS 70D
จุดเด่นของ 80D จากการใช้งานจริง
- กล้องตระกูล x0D นั้นเริ่มต้นเป็นที่นิยมใช้ในการถ่ายวิดีโอมากขึ้นตั้งแต่ EOS 70D เริ่มนำเทคโนโลยี Dual-pixel มาใช้ ทำให้กล้องสามารถโฟกัสเร็วขึ้นมาในโหมด Live-view และโหมดถ่ายวิดีโอ เพราะสามารถโฟกัสแบบ phase detect ได้เหมือนการถ่ายปกติ
- ดูที่รอบๆ ตัวกล้องกันก่อน ความเปลี่ยนแปลงจาก 70D มีไม่มาก ก็ยังเป็นกล้องที่ผู้ใช้ Canon คุ้นเคยกันดี (จับถือกล้องให้ดู) ทุกปุ่มทุกเมนูออกแบบให้เข้าใจง่าย กดง่าย จับถนัดมือ มีวงแหวนให้หมุนง่ายๆ 2 วงเหมือนเดิม ไม่เหมือนกล้องบางค่ายที่เมนูยุ่งทะลุโลก 555
- ปุ่มเลือกระบบโฟกัส ก็จะมีโฟกัสโหมดใหม่ให้เลือกง่ายๆ
- วงแหวนเลือกโหมดก็มีโหมด C1,C2 สำหรับบันทึกการตั้งค่าของเราให้เรียกใช้ได้ด่วนๆ มีโหมด Creative ให้เลือกเอฟเฟกภาพ
- เมนูน้อยกว่า 70D มีการกรุ๊ปเมนูที่ใกล้เคียงกันให้อยู่ด้วยกัน เมนูวิดีโอก็จะปรากฎเมื่ออยู่ในโหมดวิดีโอเท่านั้น ทำให้เซ็ตกล้องง่ายขึ้น
- น้ำหนักการจับถือดี ถือแล้วมั่นคง แต่บอกว่าเบาได้ไหม ก็คงไม่ รวมเลนส์แล้วหนักเป็นกิโล
- จอหลังสามารถบิดออกมาในมุมต่างๆ ได้ ถ่าย Selfie ได้ สีสันความสว่างจอก็ดีขึ้นกว่า 70D ด้วย
การถ่ายวิดีโอ
- ใน 80D ก็ปรับปรุงหลายจุดที่ทำให้ความสามารถเรื่องการถ่ายวิดีโอทำได้ดีขึ้นอีก
- อย่างแรกคือเลนส์คิทตัวนี้ Canon EF-S 18–135mm f/3.5–5.6 IS USM เลนส์ช่วง 18 – 135 mm ตัวที่ 3 รุ่นล่าสุดของ Canon ที่ใช้ Ultrasonic Motor สักที ทำให้โฟกัสเร็วและเงียบมาก ซึ่งสำคัญสำหรับการถ่ายวิดีโอ นอกจากนี้เลนส์รองรับอุปกรณ์เสริมอย่าง PZ-E1 Power Zoom Adapter ด้วย (เปิดภาพ PZ-E1 ให้ดู)
- ระบบโฟกัส dual-pixel ยังทำงานได้ดี แถมการเพิ่มจุดโฟกัสยังทำให้กล้องสามารถติดตามการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นด้วย
- รูปแบบไฟล์ที่บันทึกวิดีโอก็ดีขึ้นด้วย มีให้เลือกเป็น mov แบบ ALL-i จากเดิมมีแค่ mp4 ทำให้ได้ไฟล์ที่เนี๊ยบขึ้น เอาไปตัดต่อได้ดีขึ้น และยังมีรูปแบบ mp4 IPB-frame ให้เลือกสำหรับไฟล์ที่เล็กลง
- All-i กับ IPB คืออะไร มันคือรูปแบบการบันทึกข้อมูลวิดีโอที่แบ่งเป็น i-frame, p-frame, b-frame
- I-frame (Intra-coded picture) คือบันทึกข้อมูลภาพทั้งหมดในเฟรมนั้น
- P-frame (Predicted picture) คือบันทึกข้อมูลเฉพาะส่วนที่เคลื่อนไหวในเฟรม โดยเทียบกับเฟรมก่อนหน้า
- B-frame (Bi-predictive picture) บันทึกข้อมูลเฉพาะส่วนที่เคลื่อนไหว โดยเทียบกับทั้งเฟรมก่อนหน้าและหลัง
- โหมดวิดีโอสามารถเปิด Creative Filter พร้อมกับการถ่ายวิดีโอได้เลย
- ในแง่ภาพที่ถ่ายได้ ถือว่าให้ dynamic range สูงกว่า 70D การเก็บรายละเอียดแสงของตัวแบบทำได้ครบถ้วน สีสันดี เรานี่เอา 80D ไปถ่ายสกู๊ปมาหลายตัวแล้ว (ขอบคุณ Canon มา ณโอกาสนี้)
- ที่สำคัญสุดๆ คือมีช่องเสียบหูฟังด้วย ทำให้ช่างภาพวิดีโอฟังเสียงระดับถ่ายทำได้เลย (ถามความสำคัญของช่องหูฟังกับพิธีกรเสริม)
- แต่ข้อสังเกตของ 80D กับการถ่ายวิดีโอก็มีเหมือนกัน ก็ฟังไว้เป็นปัจจัยในการเลือกกล้องนะครับ
- ไม่รองรับ Clean HDMI หรือการส่งสัญญาณภาพสดออกจากกล้องแบบไม่มีข้อมูลประกอบ และเปิดจอที่ตัวกล้องเอาไว้ (การเสียบสาย HDMI จะทำให้จอที่กล้องดับลง) ทำให้ไม่เหมาะกับการใช้งานเป็นกล้องถ่ายทอดสด facebook, youtube
- ยังถ่ายวิดีโอ 4K ไม่ได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ใช้งานในระดับนี้ก็ไม่เป็นผลอะไร
- ไม่มีโหมดสีที่แบนมากๆ เช่น flat หรือ s-log โดยเฉพาะ (ก็ปรับ Contrast ในกล้องลงต่ำได้ระดับหนึ่ง) ใครที่ชอบถ่ายวิดีโอไปแต่งต่อเยอะๆ อาจจะมีข้อจำกัดบ้าง
เนื้อหารายการที่ถ่ายด้วย Canon EOS 80D
การถ่ายภาพนิ่ง
- การถ่ายภาพนิ่ง (เอ๊ะ Canon EOS 80D เป็นกล้อง DSLR นี่ พูดถึงการถ่ายวิดีโอซะยาวเลย)
- อย่างที่รู้ๆ กันว่า 80D เป็นกล้อง DSLR ก็จะมีจุดที่แตกต่างจากกล้อง Mirrorless ที่นิยมในปัจจุบันตรงมีกล่องกระจกด้านใน (บิดเลนส์ออกแล้วโชว์กระจกให้ดู)
- ข้อดีของการเป็นกล้อง DSLR คือช่องมองภาพที่แสดงภาพจริงๆ ที่ผ่านเลนส์มาให้เราดู หรือที่เรียกว่า OVF เราไม่ได้มองภาพผ่านจอ EVF เหมือนกล้อง Mirrorless ทำให้เห็นภาพชัดเจนกว่า และอาจจะมองเห็นในที่มืดได้มากกว่า
- แต่ข้อจำกัดคือผู้ใช้ก็ต้องคาดการณ์ระดับแสงระดับสีสันที่จะได้จากกล้อง เพราะเป็นภาพจริงจากเลนส์ ไม่ใช่ภาพที่กล้องปรับแต่งให้มีค่าตามการตั้งกล้องของเรา ใครที่ใช้ Mirrorless มาก่อนอาจจะชอบถ่ายโหมด live-view มากกว่า
- จุดเด่นของ OVF ของ 80D คือแสดงรายละเอียดในหน้าจอได้เยอะเชียว ทั้งเตือน Flicker บอกระนาบกล้องตรงกล้องเอียง
- และยังครอบคลุมการแสดงภาพได้ 100% น่าจะเป็นกล้องเกรดนี้ไม่กี่รุ่นที่แสดงครบ 100%
- คุณภาพภาพถ่ายออกมาเยี่ยม 80D ให้ Dynamic range ที่ดีกว่ารุ่นเดิมอย่างเห็นได้ชัด สามารถไล่โทนเก็บรายละเอียดแสงได้มากกว่า ถ้าถ่าย Raw ก็สามารถดึงรายละเอียดกลับมาได้ 3-4 stop เลย
- ความสามารถในการโฟกัสก็ดีขึ้น แม้แสงน้อยๆ กล้องก็ยังสามารถจับโฟกัสได้ (ถ้าพูดเชิงเทคนิคคือ -3 ev ก็ยังโฟกัสได้)
- โหมด HDR ก็ใช้สนุก กดครั้งหนึ่งจะถ่ายรัว 3 ภาพเพื่อเก็บภาพมืด ปกติ และสว่างมารวมกัน ซึ่งใช้ถ่ายวิวได้ดีเลย มีเอฟเฟกให้เลือกหลายอย่าง เหมาะสำหรับคนไม่ชอบถ่าย Raw ไปแต่งรูป
- ใน 80D เราสามารถเลือกใช้ Silent Shooting ที่ทำให้การถ่ายรูปเงียบลงได้ด้วย (ก็ยังไม่เงียบสนิท) แต่ก็ทำให้ความเร็วในการรัวซัตเตอร์ตกลงไปด้วย
- อีกเรื่องที่ต้องพูดถึงและเป็นของใหม่ในกล้องนี้คือโหมด Anti-flicker ที่กล้องจะตรวจสอบการกระพริบของไฟแล้วปรับจังหวะของซัตเตอร์ให้ตรงจังหวะที่แสงสว่างที่สุด
- ต้องอธิบายก่อนว่าแสงสังเคราะห์ของมนุษย์ พวกหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดที่เปล่งแสงด้วยก๊าซต่างๆ ที่ใช้ตามสตูดิโอ จะไม่ได้ให้แสงนิ่งตลอดเวลาเหมือนแสงอาทิตย์ แต่แสงจะกระพริบเร็วมากๆ จนตาเรามองไม่ทัน แต่กล้องที่ถ่ายด้วยความเร็วซัตเตอร์สูงๆ มันมองทันไง
- ปัญหานี้จะเห็นได้ชัดเมื่อเราใช้ Drive Mode ถ่ายรูปด้วยความเร็วสูง ก็จะเห็นว่าภายใต้แสงแบบเดียวกัน จะมีบางรูปที่มืดไปครึ่งรูป หรือมืดไปทั้งรูป
- Canon เลยพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้เซนเซอร์วัดแสงในตัวกล้องตรวจความถี่ของแสงที่กระพริบ ถ้าตรวจเจอจะแจ้งผู้ใช้ในช่องมองภาพว่า Filcker
- ซึ่งถ้าผู้ใช้เปิดโหมด Anti-flicker จากเมนูเอาไว้ กล้องก็จะปรับซัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับความถี่ของหลอดไฟอัตโนมัติ ทำให้ไม่มีปัญหาภาพเสียจากไฟกระพริบ
- ข้อจำกัดของ Anti-flicker คืออาจทำให้กล้องรัวซัตเตอร์ช้าลงบ้าง เพราะต้องรอจังหวะไฟ และไม่สามารถใช้ในโหมด live-view ได้ เพราะกล้องต้องใช้เซนเซอร์วัดแสงในการตรวจการกระพริบ
- แต่สรุปแล้วมันดีงาม ควรเปิดทิ้งเอาไว้
การใช้แอป
- แอป Camera Connect ของ Canon นั้นใช้สั่งงานกล้องได้หลายอย่าง เช่นการโอนรูปออกจากกล้องได้ง่ายๆ หรือเป็นรีโมทควบคุมพร้อมส่งภาพสดๆ จากกล้องมาให้ดูในมือถือ
- ที่สำคัญคือเราสามารถใช้แอปเป็นรีโมทกด Shutter B ได้ด้วย (คือ 80D สามารถตั้งความเร็วซัตเตอร์ได้นานสุด 30 วินาที ถ้านานกว่านี้ต้องใช้ซัตเตอร์ B ซึ่งกดผ่านแอปมันจะง่ายกว่า)
- ตัวกล้องมี NFC ด้วย ทำให้เชื่อมต่อได้ง่ายสำหรับ Android
- แต่การใช้แอปก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง คือถึงเราจะควบคุมการทำงานของกล้องผ่านแอปได้ แต่ไม่สามารถควบคุมข้ามโหมดกล้องได้ เช่นกล้องหมุนอยู่ในโหมด Av ก็ควบคุมได้แต่รูรับแสง เราไม่สามารถเปลี่ยนโหมด Tv เพื่อควบคุมซัตเตอร์จากแอปได้ ก็ต้องกลับไปหมุนที่กล้องอยู่ดี
- นอกจากนี้เรายังไม่สามารถปรับ White-balance ผ่านแอปได้ด้วย
- ที่นี้มาถึงข้อสังเกตในการถ่ายภาพนิ่งกันบ้าง
- อย่างแรกต้องเข้าใจว่าเลนส์คิทก็มีข้อจำกัดบ้าง เลนส์ 18 – 135 ที่ได้มาทดสอบนี้ ถ้าเปิด f กว้างสุด ภาพจะซอฟต์ๆ บ้าง ถ้าต้องการภาพคมจริงๆ ให้หรี่ f ลงมาหน่อย
- และตามสไตล์กล้อง canon คือไม่มีระบบกันภาพสั่นที่ตัวกล้อง ต้องใช้เลนส์ที่มีกันสั่น
- การเซ็ต Custom White balance ยังทำยากกว่ากล้องอื่นๆ คือต้องถ่ายรูปก่อนแล้วมาเซ็ต (ต้องตั้งค่ากล้องให้ถูกด้วยนะ) แทนที่จะเลือกจุดสีขาวได้เลย
- จุดโฟกัส 45 จุดทำงานได้ดี แต่ไม่ได้มีทั่วทั้งเฟรมภาพ ทำให้สามารถติดตามวัตถุได้บริเวณกลางเฟรมเท่านั้น
สรุป
- Canon EOS 80D ถือว่าปรับปรุงจาก 70D ไปเยอะมาก ทั้งคุณภาพภาพนิ่ง คุณภาพวิดีโอ และความเร็วในการโฟกัส ถือเป็นกล้อง DSLR ที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งในระดับราคานี้
- ความดีงามอย่างหนึ่งของ EOS 80D คือการออกแบบการจับถือที่รู้สึกได้เลยว่า Canon นำประสบการณ์ที่คลุกคลีกับช่างภาพมานานหลายทศวรรษมาออกแบบการจับถือให้จับถนัดมือ และระบบเมนูให้ใช้งานง่าย ใช้เวลาเรียนรู้ไม่นาน
- สำหรับใครที่มองหากล้องระดับกลางที่มีการควบคุมยืดหยุ่นกว่ากล้องในระดับเริ่มต้น ช่างภาพวิดีโอที่อยากได้กล้องที่ไว้ใจได้ หรือช่างภาพกีฬา ช่างภาพสัตว์ป่าในระดับเริ่มต้นที่ต้องการกล้องที่จับโฟกัสได้รวดเร็วพอ ติดตามเป้าหมายได้ EOS 80D ก็เป็นตัวเลือกที่ดีครับ
ราคา
- Canon EOS 80D วางจำหน่ายแล้วในราคา
- 46,900 สำหรับกล้องพร้อมเลนส์ 18-55 mm
- 56,900 สำหรับกล้องพร้อมเลนส์ 18-135 mm