สวัสดีครับ แหม่ ต้องกราบขออภัยจริงๆ ที่ปล่อยให้รอกันอย่างยาวนาน หลังจากที่ Part 1 เราได้พูดคุยถึงความสามารถเบื้องต้นของแอปฯ Timetable และ Part 2 ที่เราได้พูดถึงความสามารถอื่นๆ ที่เรายังไม่ได้พูดถึงใน Part 1 และแล้ววันนี้ก็มาถึง มหากาพย์ไตรภาคของการแนะนำแอปฯ ตัวนี้ กำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งในวันนี้เราจะจบที่เรื่องของการตั้งค่า และการเปรียบเทียบกับแอปฯ Google Calendar อย่างที่ได้เกริ่นทิ้งท้ายเอาไว้ใน Part ที่แล้วนั่นเอง ถ้าอย่างนั้นจะมัวรอช้าอะไรกันเล่า มาเรียนรู้กันต่อได้เล้ยยย

การตั้งค่าทั่วไป (General)

Screenshot_2015-11-17-13-32-38

มาเริ่มต้นกันที่การตั้งค่าทั่วไปกันก่อนเลย ซึ่งจะขออธิบายทีละจุดแบบรวบรัด จะได้ไม่ยาวจนเกินไปนะครับ

  • Default View – ส่วนนี้จะเป็นการตั้งค่าของหน้าแรกเมื่อเปิดแอปฯ แล้ว ซึ่งเราสามารถจะเปลี่ยนการแสดงผลหน้าแรกเมื่อเปิดแอปฯ จากหน้า Dashboard เป็นหน้าตารางเรียนแบบ Dayview หรือ Weekview ก็ได้ ตามที่คุณต้องการ แต่การแสดงผลผ่าน Smartphone และ Tablet จะแตกต่างกัน ซึ่งถ้าแสดงผ่าน Smartphone ก็จะเห็นเพียงแค่หน้าละ 1 เมนู แต่ถ้าเป็น Tablet ก็จะเห็น 2 เมนูพร้อมกัน โดยที่จะแสดงหน้า Dashboard และเมนูที่คุณเลือกไว้ในหน้าจอเดียว ดังหน้าจอข้างล่างนี้ครับ

Screenshot_2015-11-17-13-02-10

  • ต่อไปที่ส่วนของ Theme & Transparency ส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของสี และชุดรูปแบบของตัวแอปฯ และตัว Widget นั่นเอง ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนสีได้ 3 แบบ นั่นคือสีเขียว สีขาว และสีดำนั่นเอง ส่วนของ Widget จะมีแค่สีขาว กับดำ เท่านั้นครับ
  • ต่อมาก็คือส่วนของตัวตารางเรียน (Timetable) นั่นเองครับ ในส่วนนี้ก็จะเป็นเรื่องของการตั้งค่าวันที่เรามีเรียน การแสดงข้อมูลต่างๆ ในตารางเรียน และรวมไปถึงการกำหนดตารางเรียนในแต่ละสัปดาห์ว่า เรียนวิชาและเวลาเดียวกันทุกสัปดาห์(One week) สัปดาห์เว้นสัปดาห์(Two weeks) สามสัปดาห์มีเรียนคนละเวลา(Three weeks) หรือใน 1 เดือน(4 สัปดาห์) มีเรียนคนละเวลาทุกสัปดาห์(Four weeks)

การแจ้งเตือน และการปิดเสียงอัตโนมัติ (Notification & Automute)

Screenshot_2015-11-17-13-32-55

มาถึงการแจ้งเตือนและการปิดเสียงอัตโนมัติ ซึ่งผมขอชูจุดเด่นจุดนี้เป็นจุดเด่นที่เด่นอย่างมากและอยากแนะนำให้ทุกคนโหลดแอปฯ ตัวนี้ คือการที่แอปฯ ตัวนี้สามารถช่วยปิดเสียงระหว่างที่เรากำลังเรียนได้นั่นเอง แต่เราก็สามารถเลือกได้ว่าจะเปิดสั่นเอาไว้ หรือจะปิดการสั่นไปด้วยก็ได้ และยังสามารถแจ้งเตือนว่า ณ เวลานั้น เรากำลังเรียนอะไรอยู่ อย่างน้อยก็ไม่จำเป็นต้องเปิดแอปฯ ตลอดเวลา ช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้นได้อีกเยอะเลย

การตั้งค่าตาราง (Timetable Setting)

Screenshot_2015-11-17-13-33-03

  • มาต่อกันที่เรื่องของตัวตาราง ซึ่งเรากำหนดได้ว่า ในวันนึงเราเรียนกี่คาบ ในแต่ละคาบมีเรียนกี่นาที แต่ละคาบพักกี่นาที รวมไปถึงเวลาในแต่ละคาบว่าเริ่มต้นกี่โมง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนแหละครับ ว่าเริ่มแต่ละคาบกี่โมง และมีกี่คาบ

จัดการข้อมูล (Data)

  • สำหรับในส่วนนี้ ก็จะเกี่ยวกับการซิงค์ และการลบข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวตาราง งาน และวันหยุดที่เราเคยกำหนดเอาไว้ ซึ่งถ้าเรากดลบส่วนไหน ข้อมูลในส่วนนั้นก็จะหายไปทั้งหมดเลย ดังนั้นอย่ากดมั่วซั่วนะครับ ไม่งั้นได้มีการตั้งค่าใหม่แน่ๆ

เกี่ยวกับแอป (About)

Screenshot_2015-11-17-13-33-22

  • ในส่วนนี้ ก็ไม่มีอะไรมากมายครับ ก็จะพูดถึงผู้พัฒนาแอปฯ และก็ทางลัดสำหรับการแนะนำ-ติชมแอปฯ นั่นเอง แต่ๆๆ หลายๆ คนอาจจะเห็นว่าทำไมตรงส่วนของ Translator Name ไม่มีชื่อล่ะ สำหรับส่วนของ Translator Name ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้คนในแต่ละประเทศได้เข้ามาช่วยกันแปลแอปฯ ตัวนี้ เพื่อให้ทุกๆ คนบนโลกใบนี้สามารถใช้ได้ในทุกประเทศ และทุกภาษา

Timetable กับ Google Calendar แอปฯ ไหนดีกว่ากัน?

เอาล่ะครับ เรามาถึงจุด Climax ของมหากาพย์แนะนำแอปฯ กันแล้วครับ แต่ขออนุญาตออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าความคิดเห็นที่ผมกำลังจะกล่าว ณ ขณะนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลนะครับผม ทุกท่านสามารถโต้แย้งได้ ไม่มีผิดไม่มีถูกนะครับ

สำหรับในความคิดของผมนั้น ผมให้ Timetable ดีกว่าครับ เพราะสามารถจัดการเรื่องราวเกี่ยวกับตารางเรียนของเราได้ดีกว่า และทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นมากกว่าเดิมอีกด้วย แต่ถ้าจะใช้แอปฯ Google Calendar ก็ได้นะครับ แต่ในความคิดผม Google Calendar เหมาะที่จะบันทึกกำหนดการ และวันสำคัญต่างๆ มากกว่า แต่ในส่วนของ Google Calendar ก็มีข้อดีที่ Timetable ไม่มีเช่นกัน นั่นคือการที่สามารถแสดงวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ โดยที่ไม่ต้องคอยไล่กำหนดทีละวัน ซึ่งถือว่าได้เปรียบในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในแต่ละคนแล้วล่ะครับ ที่จะเลือกใช้แอปฯ เพราะใน Play Store ก็มีแอปฯ ในลักษณะนี้เยอะพอสมควร และมีให้เลือกมากมายเลยทีเดียว

สุดท้ายนี้ครับ ผมก็ขอฝากมหากาพย์บทความชิ้นนี้เอาไว้ในอ้อมอกอ้อมใจของผู้อ่านทุกๆ ท่านไว้ด้วยนะครับ หากเกิดข้อผิดพลาดประการใด ก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ และก็ยังฝากคำถาม และสามารถแนะนำแอปฯ ให้ผมแนะนำอย่างละเอียดได้เช่นเคยนะครับ กดเข้าไปที่ชื่อผู้เขียน แล้วเข้าไปแนะนำไว้ใน Facebook Inbox หรือจะคอมเม้นท์ไว้ในนี้ก็ได้เช่นกัน แล้วกลับมาพบกันใหม่ในโอกาสหน้า สวัสดีครับ