เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สิ่งประดิษฐ์มหัศจรรย์ที่เป็นเหมือนโรงงานผลิตสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้จริงจากแบบในคอมพิวเตอร์ วันนี้เรามารู้จัก 3D Printer กันให้ละเอียดดีกว่าครับ

M200

เครื่องแรก Zortrax M200 เครื่องพิมพ์สัญชาติโปแลนด์ที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ยอดนิยมสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติคืออาศัยความร้อนที่หัวพิมพ์ละลายเส้นพลาสติกแล้วค่อยๆ ฉีดออกมาที่ฐานร้อน เพื่อขึ้นรูปไปเรื่อยๆ ซึ่งเทคโนโลยีการพิมพ์นี้มีหลายชื่อเรียกมาก หลายชื่อก็โดนจดเป็นเครื่องหมายการค้าไปแล้ว Zortrax จึงเรียกเทคโนโลยีการพิมพ์นี้ว่า LPD หรือ Layer Plastic Deposition
หลายคนก็มักจะคิดว่า 3D Printer นั้นใช้ทำแค่โมเดล ทำของเล่น ทำตุ๊กตา แต่จริงๆ 3D Printer นี่มีบทบาทมากในอุตสาหกรรมและนวัตกรรม นะครับ เช่นการทำ Prototype หรือทำตัวต้นแบบที่สัมผัสได้จริงออกมาเทสก่อนผลิตงานจริง ซึ่งช่่วยลดระยะเวลาในการค้นคว้าพัฒนา หรือในบางอุตสาหกรรมก็ใช้ 3D Printer เพื่อพิมพ์ Part เฉพาะที่ต้องการออกมาเลย ลดต้นทุนในการผลิตได้อีกโข

ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบนี้เวลาทำงานจะไม่ได้ต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์โดยตรงนะครับ เพราะการทำงานที่ละเอียดมากๆ อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง จนถึงข้ามวันข้ามคืน การทำงานของ 3D Printer อย่าง Zortrax M200 จึงอาศัยข้อมูลที่เก็บอยู่ใน SD Card แล้วก็ทำงานด้วยตัวเองไปเรื่อยๆ จนงานเสร็จ ซึ่งเครื่องรุ่น M200 นี้มีความสามารถให้ความละเอียดของชั้นพิมพ์สูงสุดที่ 90-200 ไมครอน ซึ่งยิ่งใช้ความละเอียดมาก ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมาก็จะยิ่งเนียน เก็บรายละเอียดได้มาก แต่ก็ต้องใช้เวลาพิมพ์นานขึ้นเป็นเงาตามตัว

ซึ่งจุดเด่นของ Zortrax M200 คือเป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ใช้ง่าย มีระบบสำเร็จรูปที่เรียกว่า Zortrax Eco System สนับสนุนการทำงาน ไม่ต้องปรับแต่งเยอะก็พร้อมใช้งานได้ และระบบ Auto Calibration ช่วยเช็คระดับหัวพิมพ์กับฐานพิมพ์ให้มีค่าระยะห่างที่ดีที่สุด แถมยังสามารถรองรับวัสดุการพิมพ์ได้หลายรูปแบบทั้งพลาสติกทางวิศวกรรม เช่น ABS ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับพลาสติกที่ทำตัวต่อ Lego และยังมีพลาสติกอีกหลายชนิด หลายสี ที่มีให้เลือกใช้ให้เหมาะกับงานที่จะใช้ แต่ Zortrax M200 มีข้อจำกัดในการใช้วัสดุจากผู้ผลิตเท่านั้น

Ultimaker-2-Extended-Two-Angles

เราถึงมีเครื่องอีกรุ่นหนึ่งมาเล่าให้ฟังกันในวันนี้ด้วย นี่คือ Ultimaker 2 Extended จาก Ultimaker เป็นผู้ผลิตที่มีประวัติยาวนาน และมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องจากความคิดเห็นของผูัใช้งาน แถมยังแชร์แบบเครื่องและ software ให้เป็น open source อีกด้วย เพื่อให้ maker สามารถไปพัฒนา และสร้างเครื่องใช้เอง

ซึ่งเครื่อง Ultimaker 2 Extended  ใช้เทคนิคการพิมพ์แบบฉีดเหมือนกับ Zortrax M200 แต่จุดแตกต่างคือ Ultimaker เป็นเครื่องแบบ Open Source ทำให้มีตัวเลือกซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมเครื่องมากกว่า และเมื่อใชัอุปกรณ์เสริมทำให้รองรับการสั่งงานไร้สายผ่านระบบ internet หรือ Cloud 3D printing ได้ด้วย อีกทั้งสามารถเลือกวัสดุการพิมพ์หลากหลายประเภทจากหลายผู้ผลิตได้มากกว่า นอกจากนี้ Ultimaker 2+ สามารถให้ความละเอียดในการพิมพ์สูงสุดที่ 20 ไมครอน ทำให้สามารถพิมพ์งานขนาดใหญ่และละเอียดมาก

แต่แน่นอนเมื่อ Ultimaker 2 สามารถปรับแต่งได้มาก การใช้งานจึงต้องอาศัยประสบการณ์ไปด้วย และอาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ในการตั้งค่าต่าง ๆ อีกซักนิด เพื่อที่จะให้ได้ค่าที่ดีที่สุดสำหรับการพิมพ์ พลาสติกประเภทนั้น ๆ

สำหรับใครที่สนใจเครื่องพิมพ์ 3 มิติทั้ง 2 รุ่นนี้สามารถติดต่อได้ที่บริษัท Septillion ได้เลย มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาอยู่ครับ