จากการศึกษาของนักพันธุศาสตร์ด้วยการตรวจสอบ DNA ของประชากรปัจจุบันในประเทศออสเตรเลีย และชาวปาปัวนิวกินี (ชาวพื้นเมืองอยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย) พบว่าพวกเขานั้นคือลูกหลานของมนุษย์กลุ่มแรกๆ ที่อพยพมาจากแอฟริกาเมื่อประมาณ 72,000 ปีก่อน โดยศาสตราจารย์ Eske Willerslev แห่งมหาวิทยาลัย Copenhagen ผู้ที่เริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า “ในแง่ของวิทยาศาสตร์นั้นเรื่องราวความเป็นไปในเรื่องนี้ได้หล่นหายไปเป็นระยะเวลานาน แต่ตอนนี้พวกเราได้รู้แล้วว่ากลุ่มคนและชนเผ่าที่เราได้วิจัยอยู่นั้นมีความสัมพันธ์กับมนุษย์กลุ่มแรกของโลกผู้เป็นนักสำรวจอย่างแท้จริง ซึ่งพวกเขาได้เดินทางอย่างไร้ข้อจำกัดผ่านผืนทะเลและแถบทวีปเอเชีย”
การวิจัยดังกล่าวนั้นอ้างอิงจากการวิเคราะห์จากจีโนมของชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียจำนวน 83 คน และชาวปาปวนจำนวน 25 คน (ประชากรชาวพื้นเมืองของปาปัวนัวกินี) โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำจีโนมของคนสองกลุ่มมาเรียงกัน ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้นพบว่าพวกเขาทั้งสองกลุ่มมีร่องรอยของมนุษย์กลุ่มแรกๆ อยู่ ซึ่งศาสตราจารย์ Willerslev ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “มีความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะมาจากกลุ่มมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่เชื่อมโยงกันในด้านถิ่นที่อยู่อาศัยอันใกล้เคียงกัน “ นอกเหนือจากนั้น Colleen Wall ผู้อาวุโสในชนเผ่าพื้นเมืองขอออสเตรเลียก็มีความเชื่อคล้ายกันนี้โดยให้เหตุผลว่าชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศของตนส่วนใหญ่นั้นตั้งรกร้างในประเทศนี้เป็นเวลามากกว่าหลายพันปี
นอกเหนือจากนั้นเรายังได้รับรู้อีกว่ามนุษย์กลุ่มแรกของโลกได้เคยติดต่อกับมนุษย์สายพันธ์ุโฮมินิน (Hominin) ที่ร่อนเรไปทั่ว ในระหว่างที่พวกเขากำลังไปตั้งรกร้างที่ออสเตรเลีย ซึ่งการศึกษางานดังกล่าวนั้นยังทำให้ศาสตราจารย์ Willerslev ชื่ออีกว่า สิ่งที่พวกเขากำลังค้นหาล่าสุดอยู่นี้นั้นจะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาการสูญพันธ์ุของมนุษย์สายพันธ์ุโฮมินินซึ่งเป็นเผ่าพันธ์ุที่ไม่ได้แตกต่างจากเรามากนัก
credit: wired.co.uk