แอเรียนสเปซ (Arianespace) บริษัทขนส่งอวกาศเชิงพาณิชย์รายแรกของโลกกำลังจะปล่อยดาวเทียม THEOS-2 ของไทย และดาวเทียม TRITON รวมทั้งดาวเทียมขนาดเล็กอื่น ๆ ไปสู่อวกาศ ที่ขับดันด้วยจรวด Vega ออกจากศูนย์อวกาศ Ariane Launch Area 1 ในเฟรนช์เกียนาบนชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้หนึ่งในแคว้นของฝรั่งเศส ในวันที่ 7 ตุลาคม เวลา 8:36 น. ซึ่งจะเป็นเที่ยวบินที่ 1 ของจรวด Vega และภารกิจที่ 3 ของเอเรียนสเปซในปี 2023
THEOS-2 เป็นดาวเทียมสำรวจโลกรุ่นที่ 2 ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของไทย (GISTA) ต่อจาก THEOS-1 รุ่นแรก ทั้งนี้ดาวเทียม THEOS-2 อยู่ในสัญญาระหว่างแอร์บัสและจิสด้าเมื่อมิถุนายน 2018 เพื่อส่งเสริมวิศวกรไทยในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์แบบครบวงจร พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีความเชี่ยวชาญด้านข่าวกรองทางภูมิศาสตร์ ก้าวสู่การเป็นซัปพลายเออร์ในท้องถิ่นและพัฒนาอุตสาหกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
ดาวเทียม THEOS-2 เป็นระบบดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงมากและมีขนาดเล็ก ซึ่งเป็นระบบดาวเทียมขนาดเล็กจาก SSTL ในเครือของแอร์บัสได้ถูกประกอบและทดสอบในประเทศอังกฤษโดยวิศวกรของไทย
THEOS-2 เป็นระบบดาวเทียมแบบ Optical ที่ถ่ายภาพจากคลื่นแสง มีความละเอียดภาพที่สามารถถ่ายบนพื้นผิวโลกในขนาดพื้นที่ 0.5 เมตร โดยมีพื้นฐานมาจากนวัตกรรมของแอร์บัส และใช้บัส (โครงสร้างตัวถังของดาวเทียม) AstroBus-S
TRITON (FORMOSAT 7R) เป็นดาวเทียมเพิ่มเติมของ NSPO (ในสังกัด NATO) เพื่อเข้ามาอยู่ในกลุ่มดาวเทียม FORMOSAT 7 / COSMIC-2 ที่อยู่ในความร่วมมือของไต้หวันและสหรัฐฯ ซึ่งใช้รวบรวมข้อมูลในชั้นบรรยากาศสำหรับการพยากรณ์อากาศ และการวิจัยชั้นบรรยากาศ สภาพภูมิอากาศ และแรงโน้มถ่วง ทั้งนี้เครื่องมือสะท้อนแสงระบบนำทางด้วยดาวเทียม GNSS จะช่วยคำนวณความเร็วลมเหนือพื้นผิวทะเลได้
นอกจากนี้ยังมีดาวเทียมขนาดเล็ก ได้แก่ PROBA V-CC (12U), PRETTY, MACSAT, CSC-1 & 2, N3SS และ ESTCUBE-2
ล่าสุดวันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม เวลา 08.36 น. จรวด Vega ได้ถูกปล่อยและส่งดาวเทียม THEOS-2 ของไทยไปสู่อวกาศได้สำเร็จ จากนั้นก็ปรับตำแหน่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรที่ตำแหน่งระดับ 621 กิโลเมตร ดูบรรยากาศการปล่อยดาวเทียม THEOS-2 ได้ในคลิปด้านล่างนี้
ที่มา : nextspaceflight.com
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส