ทุกคนคิดว่า “ความเป็นจริง เป็นของจริง จริง ๆ ไหม?” คอนเซ็ปต์ของการสร้างโลก Simulation หรือโลกจำลองเป็นสิ่งที่ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว และไม่น่าเป็นไปได้ แต่ถ้ามองดูดี ๆ โลกจำลองก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างออกมาให้เห็นอยู่เรื่อย อย่างเช่นเกม The Sims เกมแนว Life Simulation ที่เราก็สร้างทุกอย่างขึ้นมาโดยอ้างอิงจากการใช้ชีวิตจริง ๆ มีตัวละครจำลอง มีโลกจำลอง มีกฏ มีสังคม เหมือนกับโลกความเป็นจริง
และถ้าบอกว่าจริง ๆ แล้วเราอาจจะใช้ชีวิตอยู่ในโลก Simulation หรือเกม The Sims สักภาคนึงก็ได้นะ? แถมยังเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ และวิทยาการของมนุษย์ ณ ตอนนี้พิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นเรื่องไม่จริงด้วย แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ทฤษฏี ก็มีแต่เรื่องที่น่าสนใจทั้งนั้นเลย
ว่าแต่แล้วทำไมเราถึงฉุกคิดเรื่องนี้กันนะ? จริง ๆ ต้องเท้าความก่อนว่า ในระดับสติสัมปชัญญะ เราคงจะไม่ได้คิดเรื่องนี้กันอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่ว่าการที่มากระตุกต่อม เอ๊ะ ว่าแล้วสมองของมนุษย์ทำความเข้าใจกับการเรื่อง awareness หรือการรู้ตัว ในการใช้ชีวิตอย่างไร เข้าใจความจริงอย่างไร ก็เป็นเรื่องธรรมชาติในตัวของมนุษย์ที่น่าสนใจมากเหมือนกัน
หลายคนอาจจะเคยชมภาพยนตร์อย่าง The Matrix หรือ The Thirteenth Floor ที่เล่าเรื่องของโลกเสมือนที่ถูกสร้างขึ้นมา พร้อมกับเรื่องราวของผู้คนที่อยู่ในนั้น แตกตื่นกันว่าโลกที่พวกเขาอยู่นั้น ความเป็นจริงแล้วถูกสร้างขึ้นมา จำลองขึ้นมา และถูกควบคุมด้วยบุคคลที่เหนือกว่าอีกทีหนึ่ง ดูแล้วก็กลับมาตั้งคำถาม แล้วความเป็นจริงสำหรับเพื่อน ๆ คืออะไรกันนะ? สำหรับเฌอความเป็นจริงคือ
คือการที่เรารับรู้สถานะตัวตนของเรา จากการ sense (2) ถึงสิ่งรอบตัว ถ้าให้เฌอลองวาดภาพให้ดูง่าย ๆ สิ่งของที่อยู่รอบตัวคือ วัตถุดิบมากมาย (1) และสมองของเราคือคอมพิวเตอร์ การที่เราจะรับรู้ได้ว่าเรารู้สึกว่าเราอยู่ในความเป็นจริง (3) ก็มาจากการที่เรารับ Input จาก รูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัส
(4) สมมติว่าเฌอสัมผัสเก้าอี้ตัวนี้ เฌอก็จะรู้สึกได้จากการสัมผัส และจากการมองเห็น เข้ามาเป็น input ให้สมองที่เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ รับรู้ว่าเก้าอี้ตัวนี่มีตัวตนอยู่ตรงนี้จริง ๆ ทั้งหมดนี้ถูกฝังอยู่ในกระบวนการคิดขั้นพื้นฐานของเราโดยที่ปกติเราก็ไม่นั่งคำนึงถึงกันแล้ว
การมองเห็น การสัมผัส กฏของฟิสิกส์ ล้วนเป็นกฏที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น กฏของแรงโน้มถ่วง (5) ถ้าเฌอทำแก้วใบนี้หลุดมือ มันก็จะร่วง และหล่นลงไปที่พื้น หรือกฎของแรงปฏิกิริยา (7) action = reaction (6) ถ้าเฌอตีโต๊ะนี้แรง ๆ โต๊ะนี้ก็จะกระทำกลับมาที่มือของเฌอแรง ๆ ด้วยแรงที่เท่ากัน ทำให้เฌอรู้สึกเจ็บ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นกฏที่สามารถอธิบายได้ ว่าถ้าเราทำแบบนี้ เหตุผลของมันก็คือรูปแบบ 1 2 3 อธิบายได้เป็นขั้นเป็นตอนเหมือนกัน อย่างกับเป็นกฏที่มีคนสร้างขึ้นมา…
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากฏของธรรมชาติ หรือกฏของฟิสิกส์ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยใครสักคนหนึ่งที่ควบคุมโลกของเราอยู่….?
อย่างที่บอกไปว่า คอนเซ็ปต์ของการทำโลกจำลองนั้นเป็นไปได้แน่นอน ซึ่งถ้ามันเป็นไปได้ ก็แปลว่าเราเองก็มีสิทธิ์อยู่ในโลกจำลองเหมือนได้เหมือนกัน จากในอดีตที่เราเคยเห็นวิดีโอเกมเป็นภาพเป็น 8 Bit ปัจจุบันผ่านมาไม่กี่ปี ระบบ Real-Time Rendering ของคอมพิวเตอร์กราฟิกก็เดินทางมาล้ำยุคขนาดนี้! ภายในเวลาที่ถือว่าสั้นมาก แล้วถ้าเฌอ skip ไปอีก
200 ปีข้างหน้าล่ะ?
แน่นอนว่าการประมวลผลโลกจำลองนั้นต้องใช้พละกำลังของ (8) คอมพิวเตอร์มหาศาล ไหนจะการจำลองกฏที่อยู่ในธรรมชาติ และต้องจำลอง consciousness หรือจิตสำนึกของแต่ละสิ่งมีชีวิตอีก แน่นอนว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นไม่สามารถประมวลผลอะไรที่มากมายขนาดนั้นพร้อมกันได้ แต่ถ้าเกิดว่าวันหนึ่งมันเป็นไปได้ขึ้นมาล่ะ?
ในโลกของวิดีโอเกม (9) เราโปรแกรมให้ตัวละครเดินทะลุกำแพงไม่ได้ ตัวละครก็จะไม่สามารถเดินทะลุกำแพงได้ ถึงแม้ว่าในชีวิตจริง เราจะอธิบายการเดินทะลุกำแพงไม่ได้เป็นเพราะกำแพงเป็นของแข็ง (11) อะตอมของกำแพงนั้นอัดแน่นกัน ชิดกันมาก
จึงไม่สามารถทำให้อะไรทะลุผ่านไปได้ เช่นเดียวกันกับในโลกวิดีโอเกมจำลอง ส่วนของ elements ต่าง ๆ (10) เราสามารถตั้งกฏขึ้นมาควบคุมได้ด้วย “การโค้ด” ว่าหากตัวละครทำแบบนี้จะมีผลที่ตามมาแบบนี้ หรือตัวละครจะทำแบบนี้ไม่ได้นะ ซึ่งฟังดูคุ้น ๆ
เหมือนกฏของธรรมชาติเลยไหม?
ลองนึกภาพว่าตอนนี้เราอยู่ในโลก Simulation ที่จำลองขึ้นมา เราถูก ‘ผู้สร้างโลก’ ตั้งกฏต่าง ๆ ขึ้นมาเป็นขอบเขตของการใช้ชีวิตในโลกนี้ เป็นกฏพื้นฐาน (12) หรือที่เราเข้าใจว่ามันคือ ‘ธรรมชาติ’ แล้วเราก็เกิดขึ้น ตายลงไป วนเวียนเป็นลูปไป ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง เพียงแต่เรายังไม่มีข้อพิสูจน์ได้เลย ว่าโลกนี้ และกฏต่าง ๆ ถูกสิ่งมีชีวิตที่มีเทคโนโลยีเหนือกว่าเราจำลองอยู่หรือเปล่า
หลายคนอาจจะบอกว่าก็ภาพที่เห็นนี่ก็เป็นภาพจริง ๆ นี่นะ? มันจะเป็นของจำลองไปได้อย่างไร มันไม่เหมือนภาพจากวิดีโอเกม หรือแอนิเมชันที่มีความไม่จริงอยู่ แค่นี้ก็พิสูจน์ได้แล้วว่าจริงไม่จริง
(13) แต่ลองนึกภาพว่าในวิดีโอเกม ตัวละครในเกมก็จะไม่สงสัยสิ่งนี้ เพราะพวกเขาไม่เคยเห็นภาพมุมมองข้างนอก มุมมองที่ภาพจริงกว่าโลกในเกม เป็นบริบทที่คล้ายกัน ก็ในเมื่อสิ่งที่เราเห็นมันคือภาพความจริงรูปแบบเดียวที่เราเข้าใจ มันเป็นทั้งหมดที่เราเข้าใจ เราไม่เคยเห็นภาพ หรือปัจจัยอะไรที่มันจริงกว่านี้ เราเคยเห็นแต่สิ่งที่มันด้อยกว่า เราเลยเข้าใจเพียงแค่ว่าสิ่งที่ด้อยกว่ามันไม่จริงนั่นเอง แต่ความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เราเห็นอยู่อาจจะด้อยกว่ารูปแบบภาพอะไรบางอย่างที่เราไม่เคยเห็นก็ได้ เพราะอย่างนั้นเราจึงยังแย้งทฤษฏีนี้ไม่ได้จากภาพที่ตาเรามองเห็น
สุดท้าย จะนั่งถกเถียงกันยังไงก็ได้ แต่ในเมือคุณรู้สึกว่าความเป็นจริงเหล่านี้มันจริงที่สุดแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะย้อนกลับมาถามว่า “แล้วความเป็นจริงคืออะไร เป็นของจริงไหม หรือความจริงกว่านี้เป็นอย่างไร?” เพราะมันก็ไม่ได้เปลี่ยน Fact ของเรื่องนี้เลย เราก็ยังดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ต่อไปอย่างปกติ เพราะสุดท้ายแล้วเฌอคิดว่าความเป็นจริงนี้มันก็จริงมากสำหรับเฌอแล้ว และมันก็เป็นความจริงที่เฌอรับรู้ได้ด้วยตนเอง เข้าใจในรูปแบบที่ตัวเองเข้าใจมาตลอด ใช้ชีวิตต่อไปให้ดีที่สุดกัน
และนี่คือเรื่องวิทย์ๆ เกี่ยวกับ “ความเป็นจริง ในโลกแห่งความจริง จริงๆ นะ”