นักวิจัยจาก Icahn School of Medicine at Mount Sinai พบว่าการที่คุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์ได้รับลิเทียมเข้าไปในร่างกาย จะทำให้เพิ่มอัตราความเสี่ยงที่ทารกจะผิดปกติมากขึ้น โดยเรื่องนี้ได้มีการทำงานวิจัยมาก่อนแล้วอย่างมากมาย จากงานวิจัยพบว่า 7.4 % ของทารกแรกเกิดที่ได้รับลิเทียมนั้นมีความผิดปกติเมื่อแรกเกิด เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับลิเทียมซึ่งคิดเป็น 4.3% เท่านั้น

นอกจากนี้เด็กทารกที่ได้รับลิเทียมเข้าไป ยังมีอัตราการเข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับเด็กกลุ่มที่ไม่ได้รับลิเทียมในระหว่างการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกอีกด้วย (คิดเป็น 27.5% : 14.3%) แต่อย่างไรก็ตาม การที่ทารกในครรภ์ได้รับลิเทียมเข้าไปนั้น ไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์หรือการคลอด ยกตัวอย่างเช่น อาการครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด การเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ น้ำหนักเด็กแรกเกิดน้อย เป็นต้น นักวิจัยพบว่าความเสี่ยงของความผิดปกติในเด็กแรกเกิดจะมีอัตราต่ำกว่างานก่อนหน้านี้เพราะว่า ในงานวิจัยนี้ทดสอบในกลุ่มประชากรที่มากกว่างานวิจัยเดิม

งานวิจัยชิ้นนี้ทำการทดสอบความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของทารกแรกเกิด เช่น โรคหัวใจบกพร่อง หรือ ภาวะแทรกซ้อนทางการตั้งครรภ์ ด้วยการแบ่งคุณแม่เป็นสองกลุ่ม กลุ่มของแม่ที่ได้รับลิเทียมในระหว่างตั้งครรภ์ 727 คน และ กลุ่มคุณแม่ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ (Bipolar) 21,397 คน (โดยคุณแม่กลุ่มควบคุมนั้นจะไม่ได้รับประทานยา ที่มีลิเทียมในระหว่างนี้) ข้อมูลของการวิจัยจะเก็บจาก 6 ที่คือ เดนมาร์ก, แคนาดา, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน, สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา โดยนักวิจัยจะติดตามวัดผลทารก 28 วันหลังคลอดพบว่า ความเสี่ยงของความผิดปกติในเด็กแรกเกิดจะมีอัตราต่ำกว่างานก่อนหน้านี้เพราะว่างานวิจัยนี้ทดสอบในกลุ่มประชากรที่มากกว่างานวิจัยเดิม

ลิเทียมถูกใช้อย่างกว้างขวางในการบำบัดอาการของผู้ป่วย Bipolar (โดยลิเทียมนั้นมีผลข้างเคียงต่อประชากร เพียง 2% เท่านั้น เมื่อเทียบจากประชากรทั้งหมดบนโลกของเรา) ลิเทียมช่วยป้องกันความรุนแรงของภาวะวิตกกังวล และ อาการคลุ้มคลั่ง ในสหรัฐอเมริกาการ bipolar มักจะรักษาด้วยยาที่มีลิเทียมเป็นส่วนประกอบ นักวิจัยก่อนหน้านี้ได้กล่าวไว้ว่า “คุณแม่ควรจะได้รับรู้ผลกระทบของลิเทียมที่จะส่งผลต่อทารกในครรภ์ ระหว่างตั้งท้อง 3 เดือนแรก แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีความเสี่ยงมากที่อาการป่วยของคุณแม่จะกลับมาในระหว่างตั้งครรภ์ และ หลังคลอด”

Veerle Bergink, MD, PhD, ศาสตราจารย์จิตเวชศาสตร์และสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยาและวิทยาศาสตร์การสืบพันธุ์จาก Icahn School of Medicine at Mount Sinai กล่าวว่า “การให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของลิเทียมในขณะตั้งครรภ์ จะช่วยลดอาการป่วยของแม่ในขณะตั้งครรภ์ได้ โดยในทางคลินิกแล้ว อาจจะพิจารณาในการปรับลดปริมาณยาที่คุณแม่จะได้รับในช่วง 3 เดือนแรกที่ตั้งครรภ์ หรือ ค่อยเริ่มรับประทานยาหลังจากพ้นช่วง 3 เดือนแรกหลังการตั้งครรภ์ หรือ ทันทีหลังจากคลอด”

อ้างอิง