จากเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. 2560) เราได้แนะนำให้รู้จักกับ Arianespace (แอเรียนสเปซ) บริษัทให้บริการปล่อยดาวเทียมกันไปแล้ว ในปีนี้แอเรียนสเปซยังคงมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หลังประสบความสำเร็จเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา ในการนำดาวเทียม DSN-1/Superbird-8 ของ SKY Perfect JSAT และกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นขึ้นไปในอวกาศ

Play video

แอเรียนสเปซ เป็รบริษัทระดับโลกด้านการขนส่งสู่อวกาศตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ซึ่งได้นำดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศแล้วถึง 82 ดวงจาก 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของดาวเทียมเชิงพาณิชย์ทั้งหมดที่โคจรอยู่ในขณะนี้

โดยในงาน CommunicAsia 2018 ประเทศสิงคโปร์ ที่จัดเมื่อวันที่ 26-28 มิถุนายนที่ผ่านมา แอเรียนสเปซได้มุ่งเน้นการให้บริการจรวดยุคใหม่อย่าง ARIANE 6 (แอเรียน 6) และ VEGA-C (เวก้า ซี) จรวดสำหรับนำขึ้นสู่อวกาศในอนาคต ที่มีอรรถประโยชน์และเชื่อถือได้สูง และเหมาะกับความต้องการของตลาดผู้ประกอบการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ดาวเทียมจำนวน 5 ดวงขึ้นสู่อวกาศด้วย ARIANE 5

ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2560 แอเรียนสเปซได้ใช้จรวด ARIANE 5 (แอเรียน 5) นำดาวเทียมจำนวน 5 ดวงขึ้นสู่อวกาศ ดังนี้

  • อินโดนีเซีย (Telkom-3S เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)
  • เกาหลีใต้ (Koreasat-7 เมื่อ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560)
  • อินเดีย (GSAT-17 เมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560)
  • ญี่ปุ่น (BSAT 4a เมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2560)
  • ญี่ปุ่น (DSN-1/Superbird 8 เมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2561)

ดาวเทียมที่รอการนำขึ้นสู่อวกาศ

มีดาวเทียมอีก 5 ดวงจากเอเชียแปซิฟิกที่รอการนำขึ้นสู่อวกาศ ได้แก่

  • GEO-KOMPSAT-2A และ 2B ของสถาบันวิจัยอวกาศเกาหลี
  • JCSAT-17 ของ SKY Perfect JSAT
  • GSAT-11 ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO)
  • BSAT-4b ของ B-SAT

ทั้งนี้ยังมีดาวเทียมอีก 2 ดวงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่วางแผนไว้ด้วย ได้แก่

  • BepiColombo (เบอปิโคลอมโบ) ซึ่งเป็นภารกิจขององค์การอวกาศของสหภาพยุโรป ร่วมมือกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ในการสำรวจดาวพุธ
  • Horizons 3e ของ Intelsat และ SKY Perfect JSAT

Ariane 5

ความสำเร็จของแอเรียนสเปซ

เมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2560)

แอเรียนสเปซสามารถปล่อยจรวดจากศูนย์อวกาศกายนาได้สำเร็จจำนวน 11 ครั้ง ดังนี้

  • ARIANE 5 (แอเรียน 5) จำนวน 6 ครั้ง
  • Soyuz (โซยุซ) จำนวน 2 ครั้ง
  • Vega (เวก้า) จำนวน 3 ครั้ง

รวมแล้วสามารถนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรได้ 20 ดวงทั้งของลูกค้าเชิงพาณิชย์และสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก โดยนำดาวเทียมจำนวน 12 ดวงขึ้นไปยังวงโคจรประจำที่ GTO (วงโคจรของโลกระดับค้างฟ้า) ได้ และในจำนวนนี้ 4 ดวงมาจากผู้ประกอบการในเอเชียแปซิฟิก อีกทั้งจรวดแอเรียน 5 ยังคงสร้างสถิติใหม่ด้านประสิทธิภาพ ด้วยการนำวัตถุหนักรวม 9.969 ตันขึ้นไปยังวงโคจรประจำที่ ในภารกิจเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ตอกย้ำถึงการเป็นผู้นำในตลาดการนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรประจำที่

ภารกิจในปี พ.ศ. 2561

ภารกิจในปี พ.ศ. 2561

ในครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2561 ได้มีการส่งจรวดขึ้นไปแล้วจำนวน 3 ครั้งจากศูนย์อวกาศกายนา (แอเรียน 5 สองครั้ง และโซยุซหนึ่งครั้ง) และในช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีภารกิจถึง 3 ครั้ง

  • โดยในวันที่ 25 กรกฎาคม แอเรียน 5 จะนำดาวเทียมอีก 4 ดวงเพิ่มเติมในระบบนำร่องกาลิเลโอ (องค์การอวกาศยุโรป ในนามคณะกรรมาธิการยุโรป)
  • ตามด้วย เอโอลัส (องค์การอวกาศยุโรป) ซึ่งจะใช้จรวดเวก้า ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม
  • และจะมีการนำส่งด้วยจรวดแอเรียน 5 ครั้งที่ 100 ในช่วงต้นเดือนกันยายน

หลังจากที่มีการลงนามในเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2561 สำหรับภารกิจของแอเรียน 5 ใน พ.ศ. 2563 ในการนำดาวเทียม BSAT-4b ขึ้นสู่วงโคจร และสัญญาอีก 4 รายการสำหรับการใช้จรวดเวก้าในการทดสอบแนวคิดการให้บริการภารกิจยานอวกาศขนาดเล็ก โดยแอเรียนสเปซจะมียอดการทำรายการอยู่ที่ 4.7 พันล้านยูโร รวมการนำส่งจำนวน 56 ครั้ง ของลูกค้า 32 ราย ได้แก่

  • ARIANE 5 (แอเรียน 5) จำนวน 16 ครั้ง
  • Soyuz (โซยุซ) 27 ครั้ง
  • Vega/ Vega-C (เวก้า/เวก้า ซี) 10 ครั้ง
  • ARIANE 6 (แอเรียน 6) จำนวน 2 ครั้ง

Vega-C และ ARIANE 6 จรวดสู่อนาคต

การพัฒนาจรวดนำส่งสำหรับอนาคตของแอเรียนสเปซนั้นกำลังดำเนินการไปตามเป้า โดยวางแผนการใช้จรวดเวก้า ซี ครั้งแรกในปลาย พ.ศ. 2562 และกลางปี 2563 ส่วนแอเรียน 6 ได้ใช้ไปเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยการให้ทุนจากสมาชิกองค์การอวกาศยุโรปสำหรับการพัฒนาจากแอเรียน 5 เป็นแอเรียน 6

เวก้า ซี และแอเรียน 6 ได้ทำสัญญาสำหรับการให้บริการส่งดาวเทียมครั้งแรก เมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. 2560)

  • เวก้า ซี จำนวน 3 สัญญา ได้แก่ การนำกลุ่มดาวเทียมสำรวจโลกของแอร์บัส ขึ้นสู่วงโคจร 2 ครั้ง และการนำดาวเทียม COSMO-SkyMed รุ่นที่สองที่ผลิตโดย Thales Alenia Space ขององค์การอวกาศอิตาลี (ASI) และกระทรวงกลาโหม 1 ครั้ง
  • 2 สัญญาสำหรับแอเรียน 6 รุ่น 62 ซึ่งได้รับจากองค์การอวกาศยุโรป ในนามของคณะกรรมาธิการยุโรป ในการนำดาวเทียมที่ผลิตโดย OHB อีก 4 ดวงขึ้นไปยังระบบนำร่องกาลิเลโอ

ซึ่งด้วยบริการการปล่อยดาวเทียมที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือสูง ทำให้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าแอเรียนสเปซจะได้รับโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดสำหรับจรวดนำส่งแอเรียน 6 และเวก้า ซี และที่น่าตื่นเต้นคือกำลังมีการเคลื่อนไหวและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมตอบสนองความต้องการของตลาดเอเชียแปซิฟิก

Play video