ปลาหมึกนั้นฉลาด มันสามารถเปิดขวดแยมออกเองได้ มันสามารถดักปลา และ สามารถทำการทักทายกับปลาหมึกตัวอื่นๆได้ ถึงอย่างนั้น มันก็ไม่ใช่สัตว์ที่ชอบเข้าสังคมเท่าไหร่นัก แถม มันยังเจ้าอารมณ์ และ มีลักษณะนิสัยที่เฉพาะตัวอีกด้วย กรณีตัวอย่างของ Otto เจ้าปลาหมึกใน Aquarium ที่เยอรมัน และ Inky ที่พยายามจะหนีออกจากตู้ของมันที่นิวซีแลนด์ พวกมันเรียนรู้จากประสบการณ์และการสังเกต ความจำในปมประสาทนับล้านที่อยู่ในหนวดแต่ละเส้น และ ปมประสาทกลางที่กลางตัวของมัน
เพื่อที่จะเข้าใจรากฐานของวิวัฒนาการ ของสติปัญญานี้ นักวิทยาศาสตร์จึงทำให้มันมีความสุข! ใช่แล้วละ! นักวิทยาศาสตร์ใช้ยา MDMD หรือที่เรารู้จักกันว่า’ยาอี’ (Molly, party drug) เพื่อทำให้มันมีความสุข ในมนุษย์ เจ้ายาตัวนี้จะไปลดความรู้สึกกลัว และ การยับยั้งชั่งใจ กลับกันมันจะเพิ่มความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น และยังบิดเบือนเวลา ทำให้คนๆนั้นเต้นไปตามเสียงเพลงได้ทั้งคืน และ ภายใต้ฤทธิ์ยานั้น นักวิจัยได้รายงานไว้ใน published Thursday in Current Biology ว่า เจ้าปลาหมึกที่ดูไม่ชอบเข้าสังคม กลับดูเป็นมิตรมากขึ้นเมื่อมันได้รับยา MDMA
“ถึงแม้ว่าปลาหมึกจะดูเหมือนกับว่ามาจากต่างดาว แต่ในความจริงมันไม่ต่างจากเราเลย” Gül Dölen นักประสาทวิทยาแห่ง Johns Hopkins University School of Medicine หนึ่งในนักวิจัยที่ทำงานร่วมกับ Eric Edsinger นักวิจัยปลาหมึกจาก Marine Biological Laboratory in Woods Hole.ได้กล่าวไว้ และ นักวิจัยยังพบอีกว่าทั้งมนุษย์ และ ปลาหมึก มีวิวัฒนาการทางการสื่อสารร่วมกันเมื่อถูกกระตุ้นด้วย MDMA การถ่ายทอดลักษณะเหล่านี้อาจถูกจำกัด เพื่อลดความกลัว และ ลักษณะความสามารถการเข้าสังคม และ แม้ว่าในเบื้องต้น นักวิจัยจะคิดว่าปลาหมึกจะเป็นสัตว์ทดลองเกี่ยวกับผลกระทบของ MDMA ในสมองมนุษย์, การรักษาอาการ PTSD และเพื่อเข้าใจวิวัฒนาการการเข้าสังคมได้มากขึ้น
MDMA ช่วยกระตุ้นการปล่อยสาร ซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ และ ลักษณะการเข้าสังคม ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อย่างเจ้าตัวlocusts และ สัตว์มีกระดูกสันหลัง อย่าง สุนัข ปลา และ มนุษย์เป็นต้น
สำหรับ Dr. Dölen ผู้สนใจในวิวัฒนาการการเข้าสังคม กล่าวว่า ปลาหมึกได้ให้ผลการทดลองที่น่าสนใจ กับการตอบสนองต่อการทดสอบ MDMA และ เซโรโทนิน เพราะปลาหมึกได้ถูกแยกออกจากวิวัฒนาการของมนุษย์เมื่อ 500 ล้านปีแล้ว แต่ยังคงมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนเหมือนกัน ปลาหมึกสามารถระงับการเคลื่อนไหวของสัตว์ที่โจมตีมันได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง บางทีมันอาจสามารถปิดระบบสัญญาณสื่อประสาทได้ การกระตุ้นนั้นคล้ายกับลักษณะการช่วยในการเข้าสังคมของมนุษย์ เธอให้เหตุผล และยังมีรหัสพันธุกรรมบางส่วนของปลาหมึก และ มนุษย์ ที่สัมพันธ์กับระบบนี้ซึ่งจะสามารถช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของสมองได้มากยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพื่อที่จะเข้าใจการควบคุมพฤติกรรมทางสังคม
เหมือนกับปากของ Pac-Man’s MDMA นั้นจะเข้าไปจับกับโปรตีนที่ควบคุมระดับเซโรโทนินในนิวรอนได้พอดี และในที่สุดยาจะไปทำให้เซโรโทนินมากเกินไประหว่างสารสื่อประสาท ทำให้สัญญาณการส่งประสาทมากขึ้น นักวิจัยได้เปรียบเทียบจีโนมของปลาหมึกยักษ์สองชนิดของแคลิฟอร์เนีย (Octopus bimaculoides) กับสัตว์อื่น ๆ พวกเขาค้นพบว่ามนุษย์และปลาหมึกสามารถทำโปรตีนนี้ได้และเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ก็คล้ายกันที่จุด Pac-Man พิเศษนี้
แต่ว่าสารที่ทำให้มีความสุขนี้จะช่วยเรื่องการเข้าสังคมของปลาหมึกด้วยรึไม่? พวกเขาทดลองด้วยการนำปลาหมึกใส่ลงในแท้งสามแท้ง และ จัดไว้ในที่ที่สามารถสังเกตได้ และให้เจ้าปลาหมึกเห็นปลาหมึกตัวอื่นได้ (มันจะถูกขังอยู่ใต้กระถางกล้วยไม้ เพื่อป้องกันในกรณีที่ MDMA ไม่ทำงาน และ เกิดเหตุร้ายแรงขึ้น
ปลาหมึกที่ไม่ได้รับยาทั้งสองเพศ จะใช้เวลาอยู่กับของเล่นมากกว่าการที่จะสนใจปลาหมึกตัวอื่น (ถึงแม้จะเป็นปลาหมึกเพศผู้มันก็ไม่ค่อยสนใจปลาหมึกเพศเมียเช่นกัน) แต่เมื่อให้ยา MAMD มันดูผ่อนคลายมากขึ้น และมันก็เริ่มให้ความสนใจกับปลาหมึกเพศผู้ที่อยู่ด้านอื่นๆของแท้ง นอกจากนี้พวกมันยังกอดหม้อในแท้งด้วยหนวดทั้งหลายของมัน พวกมันโชว์ส่วนท้องและปาก คล้ายกับ Larger Pacific Striped หมึกที่เรารู้จักกันดีว่ามันจะเข้าสังคมด้วยการนำปากแตะกัน และ กอดกันด้วยหนวดทั้ง8 ของมัน
ถึงแม้การทดลองนี้ปลาหมึกจะได้รับ MDMA ในปริมาณเล็กน้อย แต่มันก็ทำให้เห็นว่า MDMA ส่งผลกระทบต่อหลายโมเลกุล ไม่เพียงแค่เซโรโทนินเท่านั้น Charles Nichols, นักเภสัชวิทยาในคณะแพทย์ของหมาวิทยาลัยลัยLouisiana State, ได้กล่าวว่า “ผมเคยทดลองให้ psychedelicsกับแมลงวันผลไม้เป็นปีๆในห้องแลปแต่ผมยังไม่เคยเห็นผลลัพธ์แบบที่เกิดกับปลาหมึกเลยสักครั้ง” David Nichols, พ่อของเขาเป็นผู้ว่าจ้างให้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ MAMD ในการบำบัด เขาสงสัยว่ายานี้สามารถช่วยแก้ปัญหาความกลัวในปลาหมึก “การเชื่อมต่องานวิจัยในปลาหมึกนี้อาจทำให้นักวิทยาศาสตร์นำไปสู่การเชื่อมต่อกันในอีกหลายสปีชีร์ รวมถึงมนุษย์ด้วย” Dr. David Nicholsกล่าว.
แม้นี่เป็นเพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้น Dr. Dölen ก็หวังว่า “เราจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากสารเหล่านี้อย่างเต็มที่เพื่อดูว่ามันออกฤทธิ์อย่างไรกับสมอง”