นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าคนที่พยายามเลิกรับประทานอาหารที่มีการแปรรูปสูง อย่างเช่น ของทอดหรือชอกโกแลต (Junk food) จะมีอาการคล้ายคนเลิกยาเสพติดทั้งในด้านของร่างกายและจิตใจ เช่น อารมณ์แปรปรวนง่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ เป็นต้น โดยข้อมูลนี้อ้างอิงจากงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์เมื่อ 15 กันยายน ใน the journal Appetite.

Erica Schulte ปริญญาเอกด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Michigan ได้นำเสนอหลักฐานที่แสดงว่า อาการของผู้ที่กำลังเลิกบริโภคอาหารแปรรูป คล้ายกับอาการของคนเลิกยาโดยอ้างอิงจากการสอบถามอาสาสมัครผู้เคยมีประสบการณ์ในการลดการบริโภคอาหารแปรรูป อาการของพวกเขาจะแสดงออกมาอย่างชัดเจนหลังจากเริ่มลดการบริโภคอาหารแปรรูป 2-5 วัน ซึ่งเวลานี้สัมพันธ์กับระยะเวลาที่คนเลิกยาเริ่มมีอาการลงแดง แต่ถึงอย่างนั้นความคิดที่ว่าคนเราสามารถเสพติดอาหารได้ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ถึงแม้ว่างานวิจัยก่อนหน้านี้จะแสดงให้เราเห็นแล้วว่า เมื่อมีการทดลองเลิกใช้สารเสพติด และ เลิกบริโภคอาหารแปรรูป ทั้งมนุษย์ และ สัตว์ มีลักษณะทางชีวภาพและพฤติกรรม ที่แสดงออกมาคล้ายคลึงกัน

ในงานวิจัยได้ใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้างคำถามคล้ายกันกับผู้ที่เคยมีการเลิกบุหรี่หรือกัญชา ให้กับคน 200 คนที่เคยพยายามเลิกบริโภคอาหารแปรรูป ผลปรากฏว่า อาการของคนทั้งสองกลุ่มคล้ายกันจริงๆ การพยายาม”เลิก”รับประทานอาหารแปรรูป เป็นกุญแจสำคัญที่สนับสนุนสมมุติฐานว่า อาหารแปรรูปสามารถเสพติดได้จริงๆ

งานวิจัยจำนวนมากตั้งข้อสังเกตว่า อาหารแปรรูปประกอบไปด้วยน้ำตาลปริมาณมาก ซึ่งมันเข้าไปเปลี่ยนสารเคมีในสมองของเราเหมือนกับตอนที่เราติดยา (เช่นติดแอลกอฮอล์ และ ยาสูบ) และงานวิจัยนี้ก็ยิ่งสนับสนุนสมมุติฐานนี้

ในความเป็นจริงหลายๆ คนคงเคยได้รับผลกระทบจากการเลิกบริโภคอาหารแปรรูปกันมาบ้างแล้ว เพียงแต่งานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญ และ ตระหนักถึงการรับประทานอาหารของตนเองมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง