การอดอาหารดูจะเป็นทางเลือกที่รวดเร็วสำหรับการลดน้ำหนัก แต่มันส่งผลเสียมากกว่าผลดีรึเปล่า?
งานวิจัยชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของน้ำหนัก คอเลสเตอรอล และ ระดับน้ำตาลในเลือด มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อร่างกาย อ้างอิงจากงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ใน American Heart Association’s journal Circulation อาการโยโย่เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงการที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังจากการลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดในสมองแตก และ ทำให้ตายเร็วขึ้น
ในการวัดผลเรื่องการลดน้ำหนักแบบเฉียบพลันส่งผลต่อร่างกายของเราอย่างไรนั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Catholic เกาหลีใต้ ได้ทำการศึกษาโดยมีอาสาสมัคร 6,748,773 คน โดยทั้งหมดได้รับการประเมินสุขภาพแล้วว่าไม่มีอาการ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลสูง และ อาการหัวใจวายมาก่อน จากปี 2005-2012 หลังจากผู้วิจัยได้ทำการติดตาม พบว่า 54,785 คนเสียชีวิต 22,498 เป็นโรคหลอดเลือดในสมอง และ 21,452 คนเป็นโรคหัวใจ หลังจากที่พบว่าอาสาสมัครมีอาการลดน้ำหนัก ลดระดับน้ำตาลในเลือด และ ระดับคอเลสเตอรอลอย่างรวดเร็ว
อาการโยโย่ ทำให้ร่างกายเกิดความเครียด
เพราะว่าการศึกษานั้นทำเพียงสังเกตเท่านั้น จึงไม่สามารถสรุปแน่ชัดได้ แต่นักโภชนาการเชื่อว่าการที่น้ำหนักเพิ่มและลดลงอย่างรวดเร็วนั้นส่งผลให้ร่างกายเครียด และส่งผลเสียตามมาแน่ๆ เพราะเมื่อเราอดอาหารนั้น ร่างกายจะถูกจำกัดแคลลอรี่ และเมื่อมันถูกจำกัดร่างกายจะไปเพิ่มการเผาผลาญไขมันและมวลกล้ามเนื้อเพื่อมาสร้างพลังงานแทน และด้วยเหตุนี่เองจะทำให้ร่างกายเพิ่มภาวะการอักเสบ และมีระดับคอติซอลสูงขึ้น คอติซอลเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดมันจะถูกหลั่งออกมาเมื่อเราตกอยู่ในอันตราย และเมื่อคอติซอลหลังมาเป็นเวลานานเป็นที่รู้กันดีว่าจะส่งผลให้น้ำหนักเพิ่ม ความเครียด ความดัน ไขมันก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน Matt Edwards นักโภชนาการและผู้อำนวยการด้านโภชนาการและโภชนาการที่ GenoPalate กล่าว และการผันผวนนของระดับคอติซอลกับน้ำหนักตัว อาจเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
ในงานวิจัยหลายๆงานบอกแล้วว่าการอดอาหารนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วนควรหันมาลดน้ำหนักแบบยั่งยืน ด้วยการคุมอาหาร และออกกำลังกายจะดีกว่า นักโภชนาการบางคนแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีพืชผักเป็นหลัก หรือวิธีรับประทานอาหารแบบ DASH โดยพวกเขาให้ความเห็นว่ามันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนัก และ ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือถ้าใครยังไม่สามารถทำได้ ก็ให้เริ่มต้นด้วยการรับประทานผักให้มาก ลดการกินเนื้อ และ คาร์โบไฮเดรตลง อาจจะงดเนื้อวันละ 1 มื้อสำหรับคนที่ผ่านขั้นแรกไปแล้ว และที่สำคัญลดการกินอาหารนอกบ้าน เพราะเราก็ไม่รู้ว่าในอาหารแต่ละมื้อนั้นมีส่วนประกอบของน้ำตาล เกลือ เนย มากน้อยเพียงใด ดังนั้นนอกจากผู้ป่วยต้องควบคุมตนเองแล้ว ผู้ให้บริการทางการแพทย์ก็ควรช่วยกันสังเกตผู้ป่วยหากมีความดัน หรือ ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนไป เพื่อช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรค
ในงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการแปรผันของน้ำหนักตัว ระดับน้ำตาล และ ระดับคอเลสเตอรอล ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ นี่เป็นงานวิจัยชิ้นแรกดังนั้นเราจึงยังต้องศึกษาเพิ่มเติม แต่ถึงอย่างไรการศึกษาวิจัยนี้ก็ได้ทำให้ได้ตระหนักถึงการรักษาสุขภาพของตนเองในระยะยาว