โรคอกหัก หรืออีกชื่อที่เรารู้จักกันก็คือ takotsubo syndrome เป็นโรคที่เกิดจาก กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ (ที่ได้ชื่อว่า takotsubo เพราะเมื่อตอนที่กล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวแล้วไม่สามารถหดกลับเพื่อฉีดเลือดได้นั้นมันมีลักษณะเหมือนที่ดีกปลาหมึกของญี่ปุ่นนั่นเอง) อาการนี้จะสัมพันธ์กับอารมณ์ ความรู้สึก ความเครียด อย่างเช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรือ การตกงานเป็นต้น และนอกจากนี้ อาการนี้ยังสัมพันธ์กับอาการทางกายภาพ เช่น อาการหอบหืด หรือ การผ่าตัดใหญ่อีกด้วย อาการของโรค Broken heart syndrome จะมีอาการคล้ายกับอาการของโรคหัวใจ รวมไปถึงอาการ เจ็บหน้าอก และ หายใจหอบ แต่จะต่างกันก็ตรงที่ อาการนี้ไม่ได้ไปกั้นหลอดเลือด และ ผู้ป่วยสามารถฟิ้นฟูอาการได้เองภายในหนึ่งวัน หรือสัปดาห์ ผู้ป่วย 1 ใน 10 ของโรค Broken heart syndrome จะมีอาการแทรกซ้อนของ cardiogenic shock
cardiogenic shock จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณในระยะยาว ดร. Christian Templin หัวหน้างานวิจัย และการดูแลหัวใจที่ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Zurich ใน Switzerland กล่าวว่า หลังจากที่ผู้ป่วยผ่านช่วงเฉียดตายจากโรค Broken heart syndrome ในครั้งแรกแล้ว หากผู้ป่วยมีภาวะ cardiogenic shock แทรกซ้อนขึ้นมาจะยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงมากภายใน 1 ปีหลังจากนั้น
ในงานวิจัยนี้นักวิจัยมุ้งเน้นที่จะเข้าใจการพัฒนาของโรคที่ทำให้เกิดอาการ cardiogenic shock เพื่อให้ได้การรักษาผู้ป่วยได้ดีที่สุด นักวิจัยได้ทำการวิเคราห์ข้อมูลของผู้ป่วย Broken heart syndrome กว่า 2,000 คน และ พบว่า 200 คนมีอาการ cardiogenic shock การเสียชีวิตจากผู้ที่มีโรค cardiogenic shock แทรกซ้อนคิดเป็น 24% ในขณะที่ผู้ที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนคิดเป็น 2% เท่านั้น
และหากผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนไม่เสียชีวิตภายใน 1 ปี ก็มีโอกาสถึง 40% ที่จะเสียชีวิตภายใน 5 ปีหลังจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีอัตราเสี่ยงเพียงค่ 10% เท่านั้น (อัตราการเสียชีวิตนี้ไม่รวมกับผู้ป่วยที่เสียชีวิตภายใน 60 วัน หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัย) นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่า
- ผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน
- ผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจะมีสาเหตุสัมพันธ์กับสาเหตุทางกายภาพ
- ผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจะมีอัตราของอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ และ ความเสี่ยงของโรคหัวใจมากกว่า
ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจึงควรได้รับการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการให้แพทย์วินิจฉัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคประจำตัว และ องค์ประกอบอื่นที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นต้น ในงานวิจัยยังพบอีกว่าผู้ป่วยส่วนมากจะไม่เสียชีวิตที่โรงพยาบาล หากผู้ป่วยใช้เครื่องที่ช่วยในการทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
ถึงแม้ว่าเราจะมีเครื่องช่วยให้การไหลเวียนเลือดของผู้ป่วยดีขึ้น แต่มันก็ยังมีข้อควรระวัง และ เงี่อนไขหลายอย่าง งานวิจัยชิ้นต่อไปจึงจำเป็นที่จะต้องทำการทดสอบเพื่อหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย Broken heart syndrome ทั้งที่มีอาการแทรกซ้อน และ ไม่มีอาการแทรกซ้อน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย