แนวคิดในเรื่องความสูงสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมีมาตั้งแต่ปี 1950 อ้างอิงจากงานของ Leonard Nunney นักชีววิทยาวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัย California, Riverside

จากงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์เมื่อ 24 ตุลาคม ใน the journal Proceedings of the Royal Society B Nunney ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการนำผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายแสนคน มาจัดแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ เขาพบว่าทุกๆ ความสูงที่เพิ่มขึ้น 10 ซม. จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง 10% โดยความสัมพันธ์ของความสูงกับโรคมะเร็งนั้น Nunney ได้อธิบายสาเหตุไว้ง่ายๆ เลยคือ ในคนที่ตัวสูงจะมีเซลล์ในร่างกายมากกว่า

มะเร็งเป็นผลมาจากการการกลายพันธ์ของเซลล์ในระดับ DNA หนึ่งในสาเหตุของการกลายพันธุ์นี้เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ในร่างกายที่เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน บางครั้งการกลายพันธุ์ก็ไม่อันตราย แต่เมื่อไหร่ที่การแบ่งตัวนั้นอยู่เหนือการควบคุม มันก็มีอัตราเสี่ยงที่สูงขึ้นที่เซลล์นั้นจะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

ในงานวิจัยได้ทดลองหาความสัมพันธ์เรื่องความสูงในมะเร็งกว่า 23 ชนิด และพบว่าความสูงส่งผลอย่างมากต่อการเกิดมะเร็งในมะเร็ง 14 ชนิด แต่ในมะเร็งบางชนิดเช่น มะเร็งตับอ่อน หลอดอาหาร กระเพาะ และ ปาก กลับไม่มีความสัมพันธ์กับส่วนสูงเลย แต่มะเร็งเหล่านี้กลับสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกเช่น มะเร็งในช่องปาก จะสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่อ และ การดื่มแอลกอฮอล์

Nunney คาดว่าแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่ไม่คำนึงถึงอวัยวะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดมะเร็ง เพราะคนที่ตัวสูงมีแนวโน้มที่จะมีอวัยวะที่มีขนาดใหญ่กว่า นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขามีเซลล์มากกว่า นอกจากนี้ Nunney ยังเสริมอีกว่า สำหรับคนอ้วนนั้นถึงจะมีขนาดตัวที่ใหญ่แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขามีเซลล์ที่มากขึ้น แต่มันคือการที่เซลล์ของเขามีขนาดใหญ่ขึ้นต่างหาก

จากงานวิจัยพบว่ามะเร็งต่อมไทรอยด์ และ มะเร็งผิวหนัง มีความเสี่ยงสัมพันธ์กับความสูงมากที่สุด และงานวิจัยยังพบอีกว่ามีปัจจัยในเรื่องเพศ และ เชื้อชาติเข้ามาเกี่ยวด้วย โดยผู้หญิงชาวเกาหลี ที่ตัวสูง จะมีโอกาศเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์มากกว่า และ ในมะเร็งผิวหนังจะมีความเสี่ยงมากขึ้นในผู้ที่มี growth hormones IGF-1 สูง ในงานวิจัยก่อนหน้านี้บอกกับเราว่าคนที่ตัวสูงมีแนวโน้มที่จะะมี growth hormones IGF-1 มากกว่าคนอื่น และ จากข้อมูลคนที่มี IGF-1 สูงจะทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ที่เร็วกว่าคนปกติ

มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ประเภทเดียวที่มีอัตราเสี่ยงมะเร็งสัมพันธ์กับความสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสัตว์ที่ตัวใหญ่อย่างวาฬ จะมีอัตราการเป็นมะเร็งมากกว่าหนูตัวน้อย อัตราเสี่ยงจึงขึ้นอยู่กับสปีชีร์ Nunney ยังกล่าวอีกว่า ระหว่างการวิวัฒนาการ สัตว์ที่ตัวใหญ่กว่าได้มีการพัฒนาระบบการจัดการเกี่ยวกับชั้นผิวหนังในการหยุดยั้งมะเร็ง หากเราสามารถเข้าใจถึงกระบวนการนั้นได้ เราอาจจะใช้ข้อดีจากวิวัฒนาการนั้นได้

อ้างอิง