การปลูกถ่ายอวัยวะไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใหม่สำหรับยุคปัจจุบัน แต่การปลูกถ่าย ‘มดลูก’ จากผู้เสียชีวิตกลับเป็นเรื่องใหม่สำหรับทางการแพทย์ มดลูกกว่า 39 ชิ้น ที่ถูกบริจาคโดยผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต ทำให้พวกเขามีลูกได้สมใจ แต่สำหรับงานวิจัยเรื่องการปลูกถ่ายมดลูกจากผู้เสียชีวิต 10 ชิ้นก่อนหน้านี้มันกลับล้มเหลว

ปี 2016 ใน São Paolo ประเทศ Brazil เป็นเวลากว่า 10 ชั่วโมงในการผ่าตัด และการรักษาการปฏิสนธิ ทำให้หญิงวัย 32 ที่ป่วยเป็นโรค Mayer-Rokitansky-Küster-Hauser syndrome (โรคที่จะเกิดกับผู้หญิง 1 ใน 4,500 คน โรคนี้จะทำให้การเตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์ของมดลูก และช่องคลอดผิดปกติ) ทำให้เธอไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ถึงอยางนั้นรังไข่ (ovaries) ของเธอยังคงปกติ แพทย์จึงทำการนำไข่ของเธอออกมาปฏิสนธิกับอสุจิภายนอก เธอถูกให้ยาที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเธออ่อนแอลง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายของเธอปฏิเสธมดลูกที่ถูกปลูกถ่าย สำหรับมดลูกเธอได้รับบริจาคมาจากหญิงวัย 40 ที่เสียชีวิตด้วยอาการมีเลือดออกในสมอง ที่เคยผ่านการมีลูกมาแล้ว 3 คน

หลังจากการปลูกถ่าย 6 สัปดาห์ เธอเริ่มมีประจำเดือน และหลังจากนั้นอีก 7 เดือนแพทย์จึงทำการฝังไข่ที่รับการปฏิสนธิแล้วไปในมดลูกของเธอ และหลังจากนั้นเธอก็ตั้งท้อง เธอให้กำเนิดเด็กหญิงน้ำหนัก 2.5 กิโลกรัม ด้วยการผ่าคลอดในวันที่ 15 ธันวาคม 2017

ดร.Dani Ejzenberg จากโรงพยาบาล das Clínicas ใน Sao Paolo กล่าวว่า ในตอนแรกการปลูกถ่ายมดลูกจากผู้หญิงที่ยังมีชีวิต เป็นอีก 1 ก้าวทางการแพทย์ ที่ทำให้ผู้หญิงที่มีบุตรยากได้มีโอกาสมีลูกได้ แต่อย่างไรก็ตามจำนวนผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตก็มีจำนวนจำกัด โดยทั่วไปจะเป็นการบริจาคให้คนในครอบครัว หรือเป็นเพื่อนสนิทกันเท่านั้น สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นและน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง

ความสำเร็จนี้จะสามารถทำให้เราใช้ประชากรผู้บริจาคให้เกิดศักยภาพได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลดค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการผ่าตัดของผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ได้อีกด้วย

อ้างอิง