สารแทนความหวานพบได้ทั่วไปในเครื่องดื่มที่ผสมโซดา ไปจนถึงลูกอมสูตรไม่มีน้ำตาล แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงเถียงกันอยู่ว่า แท้จริงแล้วสารแทนความหวานนี้ดีสำหรับสุขภาพของเราหรือไม่

สารทดแทนความหวาน เป็นสิ่งที่เกิดจากสารที่ทำให้เกิดความหวาน เช่น Aspartame  Saccharin และ Stevia (หญ้าหวาน) สารให้ความหวานนั้นไม่ให้พลังงาน ดังนั้นจึงทำให้หลายคนมีความเชื่อว่าสารเหล่านี้สามารถทำให้พวกเขาลดความน้ำหนักได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย

เพื่อไขข้อสงสัยในเรื่องนี้นักวิจัยจึงได้รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย 56 งานก่อนหน้านี้ เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ใช้สารทดแทนความหวาน กับผู้ที่ไม่ได้ใช้ ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ รวมถึงให้พวกเขาระบุถึงสารที่พวกเขาใช้ทดแทนน้ำตาลอีกด้วย

และผลปรากฏว่า ผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพของคน 2 กลุ่มไม่ต่างกัน นักวิทยาศาสตร์อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ผลการเปรียบเทียบจากคนสองกลุ่มที่พยายามลดน้ำหนัก ไม่มีความแตกต่างกันเลย แต่ทั้งนี้งานวิจัยไม่ได้กล่าวถึงความเชื่อมโยงต่อสุขภาพด้านอื่นๆ เช่น มะเร็ง เป็นต้น และงานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เราเห็นว่าสารแทนความหวานดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์กับร่างกายของเราเอาซะเลย จากการประเมินสุขภาพผ่าน ดัชนีมวลกาย (BMI) น้ำหนักตัว ระดับน้ำตาลในเลือด ลักษณะการรับประทานอาหาร โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ

ถึงอย่างไรก็ตาม Vasanti Malik นักวิทยาศาสตร์การวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพจากมหาวิทยาลัย Harvard กล่าวถึงข้อจำกัดในงานวิจัยนี้ว่า งานวิจัยนี้ยังคงมีช่องว่างถึงระยะเวลาในการบริโภคสารแทนความหวาน ซึ่งไม่ได้ถูกนำมากล่าวถึงในงานล่าสุดเพราะเราไม่สามารถระบุประเภทของสารแทนความหวานที่แน่นอนได้ (เพราะงานวิจัยล่าสุดนี้มุ่งเน้นไปที่การเปรียบเทียบระหว่างเครื่องดื่มลดน้ำหนัก กับเครื่องดิ่มที่ใช้สารแทนความหวานมากกว่า) การทดลองจึงควรมีระยะเวลาที่นานกว่านี้เพื่อให้ได้ผลสรุปของสุขภาพในด้านอื่นๆร่วมด้วย นั่นจึงทำให้การศึกษาเรื่องสารทดแทนน้ำตาลควรทำให้เหมาะสมมากกว่านี้เพื่อหาข้อสรุปที่แน่นอนของมัน

อ้างอิง