ในขณะที่บ้านเรากำลังประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5 กันอย่างถ้วนหน้า ทาง WHO ก็ได้เผยการประเมินในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ว่าในแต่ละปีมีคนกว่า 1 ใน 4 ล้านคน เสียชีวิตจากสภาพอากาศที่เลวร้าย

ในปี 2014 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ทำการประเมินสาเหตุการเสียชีวิต ซึ่งพบว่าตั้งแต่ปี 2030 ถึงปี 2050 จะมีคนเสียชีวิตจากสาเหตุนี้เพิ่มขึ้น 250,000 คน ในทุก ๆ ปี จากปัจจัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ ความกดอากาศร้อน และมาลาเรีย เป็นต้น

แต่เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา วารสารแพทย์ The New England ได้กล่าวว่าการประเมินของ WHO เป็นการประเมินแบบไม่เอาปัจจัยอื่นที่มีผลต่อสภาพอากาศที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมารวมด้วย ดร.Andrew Haines จากคณะวิชาสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อน London หนึ่งในผู้ดำเนินงานเขียนให้ความเห็นว่า การคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก ไม่ได้คิดรวมถึงการเสียชีวิตที่เกิดจากความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เกิดจากความบกพร่องในการให้การบริการด้านสุขภาพ ในช่วงที่สภาพอากาศรุนแรงด้วย แต่ถึงแม้จะไม่ได้คิดรวมปัจจัยนี้เข้าไป แต่หากสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูก ทำให้อัตราการผลิตอาหารลดลงนั้น จะส่งผลให้ประชากรเสียชีวิตสุทธิถึง 529,000 คนในปี 2050

นอกจากนี้ธนาคารโลกได้คาดว่าในปี 2030 ปัจจัยด้านสภาพอากาศอาจส่งผลให้คนกว่า 100 ล้านคนประสบปัญหาความยากจน และนั่นอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้

การคาดการณ์เหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในมาตราการการลดการปล่อยก๊าซพิษ ก๊าซเรือนกระจก หรือแม้กระทั่งมลภาวะต่าง ๆขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำลังส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน จึงทำให้ในแต่ละประเทศควรออกมาใช้มาตราการเด็ดขาดจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและรัฐบาล ในการป้องกันและดูแลสุขภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต

อ้างอิง