ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเจอวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ทางอีกฝั่งหนึ่งของทวีปก็กำลังประสบภัยหนาวสุดขั้วที่อุณหภูมิลดต่ำสุดในรอบหลายปีจาก ‘Polar vortex’ ลมหนาวขั้วโลกเหนือ ที่คร่าชีวิตชาวอเมริกาไปแล้วกว่า 21 ชีวิตด้วยกันเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คำถามคือ แล้ว Polar Vortex นี่คืออะไรทำไมมันถึงส่งผลกระทบได้ร้ายแรงถึงขนาดนี้?

ตามข้อมูลจาก National Oceanic an Atmospheric Administration หรือ สำนักงานมหาสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่า ‘Polar vortex’ คือลมวนที่พัดในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาด้วยความเร็วสูงบริเวณขั้วโลกเหนือ ทำให้เกิดความหนาวเย็นปกคลุมทั่วมหาสมุทรอาร์กติก จะบอกว่ามันเป็นลมประจำถื่นตรงนั้นก็ได้ แต่เมื่อมันเกิดการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ โดยเลื่อนต่ำลงมาตอนกลางของสหรัฐอเมริกา มันจึงพาความเย็นเข้ามาปกคลุมพื้นที่ที่มันพัดผ่านไปด้วย

คำถามต่อมาคือ แล้วอะไรทำให้มันลมเปลี่ยนทิศ? สาเหตุที่ Polar Vortex เกิดการเปลี่ยนการเคลื่อนที่เป็นเพราะความกดอากาศค่ะ โดยปกติแล้วบริรอบๆขั้วโลกจะมีลมอีกชนิดที่ชื่อว่า ‘Jet Stream’ หรือลมกรด พัดล้อมรอบเหมือนเป็นกำแพงกั้นไม่ให้ Polar Vortex เคลื่อนตัวออกจากเขตขั้วโลก แต่เมื่อความกดอากาศเปลี่ยน ทำให้ Jet Stream อ่อนกำลังลง ส่งผลให้ Polar Vortex เคลื่อนตัวต่ำลงมาตอนกลางของอเมริกา และแคนาดา

ภาพอธิบายการเกิด Polar Vortex

ส่วนความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าลมนั้นจะกระจายออกกินพื้นที่กว้างแค่ไหน และหาก Polar Vortex เคลื่อนที่ไปเจอกับมวลอากาศร้อน ก็อาจส่งผลให้เกิดพายุลูกอื่นตามมาก็ได้

จริงๆแล้วปรากฏการณ์นี้มีมานานแล้ว แต่ภายในช่วงหลังมานี้มันกลับเกิดขึ้นบ่อยมากกว่าปกติ หลายคนตั้งคำถามว่านี่คือผลกระทบจากภาวะโลกร้อนใช่หรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หากมองในระยะสั้นคือ’ใช่’ เพราะอีกหนึ่งสาเหตุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกคือกระแสน้ำอุ่น และกระแสน้ำเย็น เมื่อกระแสน้ำทั้งสองเกิดการเปลี่ยนแปลง จะทำให้บางพื้นที่มีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ ในขณะที่บางพื้นที่ก็ร้อนมากกว่าปกติ

ผลกระทบดังกล่าวนี้ทำให้ประชาชนต้องอาศัยอยู่แต่ในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงภัยหนาว และทางการของสหรัฐได้ออกมากล่าวว่าภายหลังภัยหนาวนี้สงบลงสหรัฐอาจจะต้องพบเจอกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากการที่น้ำจำนวนมากกลายเป็นน้ำแข็งด้วย

ภาพน้ำตก Niagara ที่ถูกแช่แข็ง

ส่วนหนึ่งของ Niagara

อ้างอิง

อ้างอิง

อ้างอิง