เป็นที่รู้กันดีว่าการฟังเพลงเสียงดังมากเกินไปและการใช้หูฟังเป็นระยะเวลานานจะส่งผลเสียต่อการได้ยินของคุณ และยิ่งในยุคที่ Smartphone เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์แล้วความเสี่ยงก็ยิ่งมากขึ้น
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ทางสหรัฐอเมริกาออกมาเตือนว่าคนอายุน้อยมากกว่า 1 ล้านคน กำลังเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทางการได้ยินจากการฟังเพลงเสียงดังและใช้ Smartphone เป็นระยะเวลานาน ในปัจจุบัน 5% ของคนทั่วโลก (คิดเป็น 466 ล้านคนและในนั้นเป็นเด็กถึง 34 ล้านคน) มีประสาทการได้ยินเสี่อม ถึงแม้สาเหตุหลัก ๆ ของการทำให้การได้ยินเสื่อมยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ WHO ก็บอกว่า อย่างน้อยการควบคุมระยะเวลาการใช้งานและระดับเสียงที่ได้ฟัง ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยป้องกันการเสื่อมได้
เพื่อป้องกันผลกระทบทางการได้ยินที่อาจเกิดขึ้นตามมา องค์การอาหารและยา (WHO) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้ออกมาตรฐานสากลในการใช้เครื่องเสียง หรือ Smartphone ทั้งหลายไว้ว่า ผู้ใช้งานไม่ควรฟังเสียงที่มีความดัง 85 เดซิเบล มากเกิน 8 ชั่วโมง หรือไม่ควรฟังที่ความดัง 100 เดซิเบล มากกว่า 15 นาที เพื่อความปลอดภัย
หลาย ๆ คนพออ่านถึงตรงนี้แล้วคงเริ่มมีคำถามแล้วสินะคะว่า เราจะรู้ได้ยังไงว่าเราฟังไปกี่เดซิเบล? ทั้งนี้ทาง WHO และ ITU ได้ทำการเรียกร้องไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีการติดตั้งค่าเผื่อเสียง (sound allowance) ซอฟต์แวร์ที่จะอยู่ในอุปกรณ์เสียงทั้งหมด เพื่อคอยดูระดับเสียงและระยะเวลาที่ผู้ใช้ได้ฟังเสียง เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และมันจะคอยเตือนผู้ใช้งานหากอยู่ในภาวะเสี่ยง ซึ่งใน Smartphone บางรุ่นในอเมริกาจะมีระบบนี้อยู่แล้ว
เพราะการสูญเสียการได้ยินไม่ได้เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่คุณฟังเพลงเสียงดัง ๆ หรือฟังระยะเวลานาน แต่ทุกอย่างมันจะค่อย ๆ เกิดขึ้น ดังนั้นอย่ามองข้ามเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ไม่เช่นนั้นวันหนึ่งคุณอาจจะสูญเสียการได้ยินไป โดยที่คุณไม่คาดคิด