เป็นที่รู้กันดีว่าการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลต่อระบบต่างๆมากมายต่อร่างกาย รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดในสมอง ตามที่กรมควบคุมและป้องกันโรค (CDC) เคยรายงานไว้ แต่เหตุผลทางชีววิทยาพื้นฐานสำหรับความเชื่อมโยงเหล่านี้ยังไม่ชัดเจนนัก
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยได้ทำการทดลองในหนู ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวทางพันธุกรรม โดยแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือหนูที่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ส่วนกลุ่มที่สองเป็นหนูที่ถูกรบกวนขณะนอน ด้วยการใช้เครื่องแปรงอัตโนมัติ เลื่อนผ่านใต้กรงทำให้พวกมันตื่น
จากการทดลองพบว่า หนูที่ถูกรบกวนการนอนมีระดับการอักเสบในเส้นเลือด และ เส้นเลือดแข็งตัวมากกว่าหนูที่นอนพักผ่อนเพียงพอ นักวิทยาศาตร์ได้ทำการอธิบายว่า เมื่อหนูถูกรบกวนการนอนฮอร์โมน Hypocretin ที่ทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวจะลดลง ยิ่งไปกว่านั้นนักวิจัยยังพบอีกว่าหากระดับฮอร์โมน Hypocretin ลดลงจะส่งผลให้ โปรตีน CSF1 ส่งสัญญาณเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาว ทำให้เกิดการอักเสบในไขกระดูก และหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุให้การเกิดการแข็งตัวของเส้นเลือดก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และหัวใจได้
เช่นเดียวกับอาการ Narcolepsy หรือ โรคลมหลับ (โรคที่ผู้ป่วยมีอาการง่วงในตอนกลางวัน) ที่ผู้ป่วยจะมีระดับฮอร์โมน Narcolepsy ต่ำ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีงานวิจัยที่บอกกับเราแล้วว่าผู้ที่เป็นโรคลมหลับ จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนปกติเช่นกัน
นี่เป็นการทดลองเพียงขั้นต้นในการอธิบายความเกี่ยวโยงระหว่างการนอนพักผ่อนและโรคหัวใจ ถึงอย่างไรนักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงจะเดินหน้าทดลองในมนุษย์เพื่อให้ได้คำตอบที่แน่นอนเกี่ยวกับเรื่องนี้
ถึงอย่างไรก็ตามการนอนพักผ่อนให้เพียงพอก็เป็นเรื่องสำคัญในการดูแลสุขภาพของทุกคน เพราะอย่างนั้นอย่าลืมใส่ใจเวลานอนกันด้วยนะคะ
อ้างอิง