เป็นเวลาเกือบ 1 ปีที่ Stanford ได้ทำการติดตามผลการวิจัยดังกล่าวเพื่อทดสอบความจริงที่ว่าคุณสมบัติวัดการเต้นของหัวใจใน Apple Watch สามารถเชื่อถือได้จริงหรือไม่ และในวันนี้ Stanford ก็ได้ออกมารายงานผลการศึกษาให้เราทราบกันแล้ว
ในงานวิจัยให้อาสาสมัครใส่ Apple Watch พบว่า 0.5% ของอาสาสมัครมากกว่า 400,000 คน ที่ได้รับการแจ้งเตือนเรื่องหัวใจเต้นผิดปกติ มีปัญหาดังกล่าวจริงหลังจากที่พวกเขาเข้ารับการตรวจยืนยันจากแพทย์ แพทย์กล่าวว่า 84% ของผู้เข้ารับการตรวจหลังจากได้รับการแจ้งเตือนจาก Apple Watch มีอาการ Atrial fibrillation (หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ) ซึ่งเป็นสาเหตุของสัญญาณแจ้งเตือนดังกล่าวจริง
34% ของผู้ที่ได้รับการแจ้งเตือนยินยอมที่จะวัด ECG เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และพบว่าพวกเขามีปัญหา Atrial fibrillation เป็นบางเวลาเท่านั้น และอีก 57% ของอาสาสมัครเมื่อได้รับการแจ้งเตือนก็รีบเข้าพบแพทย์ทันที แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ครอบคลุมเพียงแค่ Apple Watch ในซีรีส์ 3 และก่อนหน้านี้เท่านั้น ส่วนซีรี่ส์ 4 เพิ่งเปิดตัวได้ไม่กี่เดือนก่อนหน้าจึงไม่สามารถให้ข้อมูลได้
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าแอปดังกล่าวสามารถเชื่อถือได้ 100% เพราะจากการทดสอบมีเพียง 84% เท่านั้นที่เชื่อถือได้ นั่นหมายความว่า 1 ใน 6 อาจจะไม่มีอาการอย่างที่แอปแจ้งเตือน หรือ คนที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติอาจจะไม่ได้รับการแจ้งเตือนก็ได้ ดังนั้นนักวิจัยก็ยังคงยืนยันว่าคุณสมบัติดังกล่าวสามารถช่วยคัดกรองได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าสามารถใช้แทนการตรวจ ECG ของแพทย์ได้จริงๆ อย่างไรก็ตามผลลัพธ์นี้ถือเป็นแนวโน้มดีหาก Apple วางแผนที่จะผลักดันการบริการด้านสุขภาพต่อในปี 2019