กองบริหารความปลอดภัยในจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ (National Highway Traffic Safety Administration : NHTSA) กรมการขนส่ง (DOT) ของสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้แก้ไขกฎโดยกำหนดเสียงขั้นต่ำของรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดที่อนุญาตให้ผู้ผลิตติดตั้งเสียงจำนวนหนึ่งที่คนขับสามารถเลือกใช้สำหรับเตือนคนเดินเท้าได้

ปี 2553 ได้มีความกังวลเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดที่วิ่งด้วยความเร็วต่ำกว่า 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งรถยนต์มีเสียงที่เงียบจนเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายสำหรับผู้ใช้ถนน เช่น คนตาบอด คนที่มีปัญหาด้านสายตา และคนที่ขี่จักรยาน ส่วนการวิ่งที่ความเร็วสูงจะมีเสียงยางรถที่เสียดสีบนถนน และเสียงรถปะทะกับลมดังเพียงพอให้คนใช้ถนนได้ยินว่ารถกำลังเข้ามาใกล้

จนมาถึงปี 2559 ได้มีการร่างกฏขึ้นมาครั้งแรกให้รถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดต้องมีเสียงในขณะที่วิ่งด้วยความเร็วต่ำให้ดังมากพอที่คนเดินถนนจะได้ยิน แต่กฎฉบับร่างครั้งแรกนี้ได้กำหนดให้รถยนต์สามารถติดตั้งเสียงเตือนหนึ่งเสียงต่อหนึ่งรุ่นเท่านั้น

รถยนต์ในยุโรปที่ผลิตหลังจาก 1 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นมาได้มีการใส่เสียงเตือนให้กับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดไว้เรียบร้อยแล้ว

Mitsubishi Outlander ได้ใส่เสียงประดิษฐ์ที่ดังเหมือนเครื่องยนต์โดยทำให้เกิดเสียงด้วยแบตเตอรี, Mercedes AMG ได้ทำงานร่วมกับวงร็อกชื่อดัง Linkin Park มาช่วยสร้างเสียงที่สุดพิเศษ, Porsche เสนอให้ลูกค้าอัปเกรด Taycan มีเสียงเหมือนเครื่องยนต์เบนซินด้วยเงินราว 15,xxx บาท และ Nissan ได้เพิ่มเสียงเตือนภายใต้ระบบเตือนภัยที่เรียกว่า Canto

กฎฉบับแก้ไขปัจจุบันที่เผยแพร่สูสาธาณชนและกำลังรอการพิจารณานั้น ได้ตอบสนองต่อผู้ผลิตรถยนต์ที่ขอให้สามารถติดตั้งเสียงเตือนได้หลายเสียงเพื่อให้คนขับสามารถเลือกใช้เสียงได้ตามต้องการ

แม้ว่าเสียงเตือนที่สร้างออกมาสามารถติดตั้งได้หลายเสียง และรถยนต์บนถนนเลือกใช้เสียงที่แตกต่างกัน แต่ก็เชื่อว่าน่าจะมีกรอบกำหนดให้เสียงที่นำมาใช้ต้องเป็นเสียงที่สื่อถึงเครื่องยนต์หรือรถยนต์ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ถนนสับสนอย่างแน่นอน คาดว่าน่าจะโชว์เสียงความแน่นของเครื่องยนต์เหมือนกับรถแข่งดัง Tesla

อ้างอิง

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส