นักวิจัยจาก University of Vermont และ Tufts University ได้ใช้ Supercomputer ในการสร้างสิ่งมีชิวีตใหม่ขึ้นมาโดยใช้เซลหนังและหัวใจของกบ โดยนักวิจัยเก็บสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนของกบตั้งแต่ยังเป็น Embryos บ่มเซลล์ขึ้นมา หลังจากนั้นจึงทำการทดลองสร้างแบบจำลองทางชีวภาพตามที่ Supercomputer ออกแบบไว้แล้ว
หุ่นยนต์ตัวนี้มีขนาด 0.04 นิ้ว มีขนาดเล็กมากพอที่จะสามารถเข้าไปว่ายเล่นในร่างกายมนุษย์ได้ และยังมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองอีกด้วย แต่เนื่องจากมันเป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตจึงต้องการพลังงาน และมีอายุอยู่ที่ 7-10 วันก่อนสลายไปเอง
Joshua Bongard ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์จาก University of Vermont กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่หุ่นยนต์แบบเดิม ๆ หรือสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จัก นี่เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่มีชีวิต และเราสามารถสั่งงานได้” (Programable)
สิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีการเคลื่อนที่ที่ช้ามาก และเมื่อกลับด้านมันจะหยุดเคลื่อนที่ทันที เหมือนกับเต่าที่ถูกทำให้หงายหลัง และไม่สามารถเคลื่อนไหวเพราะติดกระดอง นักวิจัยก็ออกแบบสิ่งมีชีวิตตัวนี้ไว้ในลักษณะดังกล่าวเช่นเดียวกัน และมันยังสามารถผลัก หรือดันสิ่งของได้แล้วด้วย นักวิจัยยังออกแบบให้ตัวสิ่งมีชีวิตมีกระเป๋าหรือช่องว่างเพื่อใส่สิ่งของหรือวัตถุลงไปได้อีกด้วย
Michael Levin ผู้อำนวยการ Center for Regenerative and Developmental Biology กล่าวว่า “สิ่งมีชีวิตดังกล่าวสามารถสร้างคุณประโยชน์และสามารถทำอีกหลาย ๆ อย่างที่สิ่งมีชีวิตอื่นทำไม่ได้ เช่น การค้นหาสารปนเปื้อน รวบรวมไมโครพลาสติกในมหาสมุทร หรือแม้แต่การกำจัดสิ่งแปลกปลอมในหลอดเลือดแดงของคน”
ปัจจุบันเจ้าสิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อว่า xenobots ซึ่งมาจากชื่อ Xenopis ของกบที่ถูกนำมาทดลองนั่นเองค่ะ
อ้างอิง CNET