ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 แบบนี้ สมมติฐานที่ว่า โลกได้หยุดพักจากการก่อเกิดมลพิษและการทำลายธรรมชาติต่าง ๆ เพราะมนุษย์หยุดกิจกรรมทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคมมากขึ้นจากการหยุดเคลื่อนไหว พบปะ สัญจร หรือร่วมกลุ่มกัน Beartai ได้นำเสนอข่าวที่เชื่อมโยงถึงการที่ “โลกได้พัก”ไปบ้างแล้วจากกรณีรูโหว่ของโอโซนลดลงในรอบ 30 ปีในช่วงนี้ วันนี้ก็มีอีกหนึ่งหลักฐานที่สนับสนุนว่า โลกได้อาศัยโอกาสนี้พลิกฟื้นสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติกลับมาดีขึ้นกว่าเดิม
มีรายงานด้านสิ่งแวดล้อมเปิดเผยว่า เต่าหญ้าทะเล Olive Ridley สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์กว่าหมื่นตัวได้กลับมาขึ้นวางไข่ในแหล่งวางไข่ Odisha’s Rushikulya หาด Gahirmatha ชายฝั่งรัฐ Odisha ของประเทศอินเดีย หลังจากนักท่องเที่ยวหายไปจากหาดที่เคยพลุกพล่านในสภาวะที่ต้องกักตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม นายกรัฐมนตรีของอินเดียได้ออกประการล็อกดาวน์ปิดประเทศเป็นเวลา 21 วัน ตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนของวันนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้ทำให้ชายหาดมีสภาพสมบูรณ์ให้เต่าหญ้าเพศเมียสามารถกลับมาวางไข่ได้อย่างไร้การรบกวน
ARRIBADA ~Spanish Word – means 'Arrival' 🐢
Refers to mass-nesting event when 1000s of Turtles come ashore at the same time to lay eggs on the same beach.
Interestingly, females return to the very same beach from where they first hatched, to lay their eggs.
🏖️ Olive Ridley Turtle pic.twitter.com/dvzslqA8zW— Ankit Kumar, IFS (@AnkitKumar_IFS) March 26, 2020
Thousands of olive ridley turtles nesting on the beaches of Odisha.
Their normal predators (humans) are in quarantine.
This season, their numbers will explode in the oceans.
There is a silver lining in this dark cloud after all. pic.twitter.com/l0DMLbGp4l— EyeSurgeon (@DrAshJac) March 26, 2020
https://twitter.com/_harikrishnan_s/status/1242994351967318016?ref_src=twsrc%5Etfw%7Ctwcamp%5Etweetembed%7Ctwterm%5E1242994351967318016&ref_url=https%3A%2F%2Fwww.indiatimes.com%2Ftrending%2Fenvironment%2Fwith-humans-under-lockdown-8-lakh-olive-ridley-turtles-get-to-peacefully-nest-on-odisha-coast-509372.html
เต่าหญ้า Olive Ridley สามารถพบได้ในเขตน้ำอุ่นบริเวณมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก และแถบเซาท์แอตแลนติก มีขนาดตัวอยู่ที่ประมาณ 0.6-0.8 เมตร มีน้ำหนักถึง 45 -50 กิโลกรัม มีอายุไขเฉลี่ย 50 ปี เต้าหญ้ากินแมงกะพรุน หอย ปู และกุ้งเป็นอาหาร เมื่อลูกเต่าไข่ฟักออกจากไข่ ตัวลูกเต่ามักจะตกเป็นเหยื่อของปู แร็กคูน หมู งู และนก แต่เมื่อมันโตเต็มที่มันก็จะเปลี่ยนไปเป็นอาหารของฉลามแทน เต่าชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ของ IUCN Red List รัฐบาลหลายแห่งได้ออกมาตรการปกป้องสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ แต่ยังมีการขโมยไข่เต่าและการจับตัวแม่เต่าไปฆ่าเอาเนื้อและหนัง มากไปกว่านั้นเต่าหลายตัวก็ถูกลากติดไปกับแห อวน และอุปกรณ์จับปลาต่าง ๆ ด้วย
เมื่อปี 2019 ที่ผ่านมามีรายงานว่า บรรดาเต่าหญ้าไม่กลับมาวางไข่เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวและขยะเป็นจำนวนมากตามชายฝั่งแห่งนี้ ส่วนในปีนี้ที่นักท่องเที่ยวหายไปเกือบหมด กรมป่าไม้ของประเทศอินเดีย ระบุว่ามีเต่าหญ้าทั้งสิ้น 72,142 ตัว ที่ขึ้นมาวางไข่บนชายฝั่งในวันอังคารที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา โดยพวกเขาคาดการณ์ว่าเฉพาะที่ชายหาด Rushikulya จะมีเต่าอย่างน้อย 475,000 ตัวขึ้นมาวางไข่ โดยอาจมีการวางไข่ทั้งหมดถึงกว่า 60 ล้านฟอง
นอกจากนี้ Odisha Wildlife Organization ยังระบุว่า ประชากรเต่า Olive Ridley กว่า 50% ทั่วโลกได้หวนคืนชายฝั่งใน Odisha เพื่อทำรัง อย่างไรก็ตาม การฟักไข่ของบรรดาเต่าให้สำเร็จนับเป็นเรื่องยากกับสิ่งมีชีวิตชนิดนี้อยู่แล้ว เพราะไข่เต่าอาจถูกกัดกินโดยบรรดาสัตว์จรจัด และอาจถูกทำลายโดยเรือประมงในระยะการฟักไข่ช่วง 45 วัน กรมป่าไม้จึงได้นำชาวประมงและอาสาสมัครร่วมกันเฝ้าระวังไข่ให้อยู่รอดปลอดภัย
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส