วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ได้ปล่อยจรวด Mitsubishi H-2A เพื่อส่งยานหุ่นยนต์สำรวจอวกาศ Hope หรือ Hope Probe ออกจากศูนย์อวกาศ Tanegashima ของญี่ปุ่นในเวลาท้องถิ่น 6:58 น. ได้สำเร็จ และกำลังบินต่อไปยังดาวอังคาร ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจแรกของ UAE และภารกิจแรกของโลกอาหรับที่จะไปสู่ดาวอังคาร
หนึ่งชั่วโมงหลังจากจรวดถูกยิงออกจากแท่น Hope Probe ก็ได้แยกตัวออกจากจรวด จากนั้นได้มุ่งหน้าไปสู่วงโคจรของดาวอังคารซึ่งจะไปถึงในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 และเป็นช่วงที่ตรงกับวันสำคัญครบรอบ 50 ปีในการรวมชาติ UAE จากนั้น Hope Probe ก็จะโคจรในแนวเส้นศูนย์สูตรรอบดาวอังคารตลอดทั้งปีเป็นเวลา 687 วัน เพื่อสังเกตสภาพในบรรยากาศชั้นล่างที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลต่าง ๆ ซึ่งภารกิจนี้จะไม่มีการบินลงจอดบนพื้นผิวของดาวอังคาร
Hope Probe ถูกการออกแบบให้เริ่มต้นใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ ด้วยมูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบด้วยสเปกโทรมิเตอร์รังสีอุลตร้าไวโอเลตและอินฟราเรด รวมทั้งกล้องที่ไวต่อการรับแสงและแสงอัลตราไวโอเล็ต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคารก่อนที่จะส่งมนุษย์ไปสำรวจในอนาคต
ในเดือนนี้ชาวโลกพร้อมใจกันจะออกไปตะลุยดาวอังคารถึง 3 ภารกิจด้วยกัน เนื่องจากเป็นช่วงที่โลกอยู่ใกล้กับดาวอังคารนั่นเอง โดยเริ่มจากการภารกิจ Hope Probe ของ UAE จากนั้นในวันที่ 23 ก.ค. จะเป็นภารกิจ Tianwen-1 ของจีนที่จะปล่อยยานสำรวจและรถสำรวจหนัก 240 กม. (530 ปอนด์) ซึ่งประกอบด้วยเรดาร์เจาะพื้น (GPR), เครื่องตรวจจับสนามแม่เหล็กพื้นผิวดาวอังคาร (MSMFD), เครื่องมือวัดอุตุนิยมวิทยาดาวอังคาร (MMMI), เครื่องตรวจจับสารประกอบพื้นผิว Mars (MSCD), กล้องหลายสเปกตรัม (MSC) และกล้องนำทางและภูมิประเทศ สำหรับนำลงไปสำรวจทางธรณีวิทยาบนพื้นผิวของดาวอังคาร
รายที่ 3 ในวันที่ 30 ก.ค. จะเป็นภารกิจ Mars 2020 ของสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งจะส่งรถสำรวจดาวอังคารที่ชื่อว่า Perseverance เพื่อค้นหาสัญญาณของซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลในปล่องภูเขาไฟ Jezero สำรวจลักษณะดินฟ้าอากาศและธรณีวิทยา โดยจะรวบรวมตัวอย่างกลับมายังโลกและปูทางในการสำรวจมนุษย์ดาวอังคารต่อไปและใต้ท้องรถจะมีเฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ที่จะบินไปบนท้องฟ้าของดาวอังคารด้วย เพื่อปูทางให้กับยานไร้คนขับในอนาคต แล้วจะลงจอดบนดาวอังคารในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021
ที่มา : engadget
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส