เหตุการณ์ไฟป่าที่ จ.เชียงใหม่เมื่อมีนาคม 2020 ค่ามลพิษในอากาศของ จ.เชียงใหม่ พุ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก และปี 2021 นี้น้ำมาเร็วกว่าทุกครั้ง ส่งผลให้น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ก็เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เราเรียกกันว่า Climate Change

ชัดเจนครับว่า ผลกระทบของ “Climate Change” ไม่ใช่เรื่องของอนาคต แต่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังรุนแรงขึ้นทุกขณะ ซึ่งหลายฝ่ายพยายามหาทางออกให้กับวิกฤตการณ์นี้

แล้วคุณเชื่อมั้ยว่า จริง ๆ แล้ว พลาสติก เกิดมาเพื่อช่วยลดโลกร้อน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่เราคิด… ต้องย้อนเล่านะครับ พลาสติกถูกคิดค้นขึ้นเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเอาพลาสติกเข้ามาทดแทนการใช้กระดาษ ที่ต้องตัดต้นไม้มาผลิต หรือโลหะ ที่มาจากแร่ใต้ดิน

โดยในวันที่โลกฮิตกีฬาบิลเลียดเป็นอย่างมาก ลูกบิลเลียดเคยมาจากการแกะสลักด้วยงาช้าง แต่พลาสติกเป็นฮีโรเข้ามาช่วยชีวิตช้างเพื่อไม่ให้ถูกฆ่าเอางา และที่สำคััญช่วยพัฒนาชีวิตผู้คนผ่านยุคผ่านสมัย แต่ปัญหาที่เกิดในวันนี้คือการบริโภคอย่างไม่ยั้งคิดแล้วเกินกว่ากำลังการจัดการหลังใช้

วันนี้ผม หนุ่ย พงศ์สุข จะมาแบไต๋ 5 นวัตกรรมลดโลกร้อน ที่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ช่วยตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม และสามารถเปลี่ยนโลกของเราให้ดีขึ้นได้จริง

เราจะพาตามไปดูนวัตกรรมลดโลกร้อนของ SCG Chemicals ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์ครบวงจรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่พัฒนาธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน และมุ่งลดปัญหาภาวะเรือนกระจกให้กับโลกใบนี้

อย่ารอช้าครับเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่รอเรา เรารีวิวจากภาพจริงกับ 5 สิ่งที่ SCG ได้ทำไปแล้ว

1. นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง
High-Quality PCR หรือ High-Quality Post-Consumer Recycled Resin (โพสต์-คอนซูเมอร์ รีไซเคิล เรซิน) ภายใต้แบรนด์ SCG Green PolymerTM

พัฒนาขึ้นตามหลัก Circular Economy เขาต้องการจะแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกจำนวนมากที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยนวัตกรรมนี้ ได้นำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานจากผู้บริโภค มาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ซึ่งนำกลับมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย

การนำพลาสติกใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล สามารถช่วยช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้มากกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป นอกจากนี้กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลก็ยังใช้พลังงานน้อยกว่า และช่วยลดการเผาขยะเพื่อกำจัดอีกด้วย

ไม่ต้องเผา ก็ไม่ต้องก่อเกิดควัน ว้าว!

การกำเนิดเกิดขึ้นของนวัตกรรมเม็ดพลาสติก PCR คุณภาพสูง ก็จะช่วยให้เจ้าของแบรนด์สินค้าปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งสามารถใช้ปริมาณเม็ดพลาสติกรีไซเคิลได้ตั้งแต่ 25 จนถึง 100 เปอร์เซ็นต์

ซึ่งปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลชนิดนี้ คุณจะเป็นอีกคนที่สามารถช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้ครับ

2. เทคโนโลยี SMX
(SMXTM Technology, เอส-เอ็ม-เอ็กซ์ เทคโนโลยี)

นวัตกรรมนี้ เอสซีจี เคมิคอลส์ นำมาใช้ในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ (virgin resin)
โดยมีแนวคิดการออกแบบเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการที่ทำให้เม็ดพลาสติก HDPE มีคุณภาพสูง ทั้งด้านความแข็งแรง และความเหนียวแน่น

เมื่อนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ผู้ผลิตก็จะใช้ปริมาณเม็ดพลาสติกน้อยลง ส่งผลให้ใช้พลังงานในการกระบวนการผลิตลดลง นอกจากนี้ ยังทำให้สินค้าปลายทางมีน้ำหนักเบาลงด้วย จึงช่วยลดการใช้พลังงานในการขนส่ง และนี่แหละครับ ผมจึงจัดให้ เทคโนโลยี SMXTM เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมลดโลกร้อนได้

เรามาลองดูตัวอย่างของการใช้พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี SMXTM กันครับ อย่างฝาขวดน้ำอัดลมเล็ก ๆ แบบนี้ เมื่อใช้เม็ดพลาสติก HDPE ที่ผลิตจากเทคโนโลยี SMXTM จึงทำให้ฝาขวดบางลง แต่คงการใช้งานได้ดีเหมือนเดิม และที่ดีต่อใจมาก ๆ คือ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 7% จากการลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติก
ในการขึ้นรูปฝา จาก 2.15 กรัม เหลือ 2.0 กรัม จึงใช้พลังงานในการขึ้นรูปฝาขวดลดลง

อาจจะมองว่า ก็แค่ฝา ๆ เดียวที่ตัดน้ำหนักออกไป 0.15 กรัม มันจะไปช่วยโลกได้ขนาดไหนเชียว อย่าลืมนะครับว่าปีหนึ่ง ๆ พวกเราบริโภคน้ำดื่มหรือเครื่องดื่มนอกบ้านกันขนาดไหน ถ้าทุกฝาที่ผลิตออกมาช่วยลดโลกร้อนได้ผมว่ามันน่าทึ่งนะครับ

3. SCG Floating Solar Solutions
(เอสซีจี โฟลททิง โซลาร์ โซลูชันส์)
‘โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ’ รายแรกของไทย

นวัตกรรมทุ่นลอยน้ำสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นผิวน้ำ หรือที่เรียกว่า ‘โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ’ คิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์พลังงานสะอาด สามารถรองรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในระดับกลางไปจนถึงระดับใหญ่

SCG Floating Solar Solutions มีจุดเด่นที่การออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยตัวทุ่นผลิตจากเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษที่มี UV stabilizer ทนทานต่อแสงแดดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบตามสภาพแหล่งน้ำหรือความต้องการใช้ไฟฟ้าของผู้ประกอบการ และยังรองรับแผงโซลาร์เซลล์ได้ทุกยี่ห้อ ทุกขนาด มีความปลอดภัยสูง

ที่ผ่านมา SCG Chemicals ได้ติดตั้งนวัตกรรมทุ่นลอยน้ำนี้ไปแล้วกว่า 34 โครงการ ซึ่งสามารถสร้างกำลังการผลิตไฟฟ้า รวมถึง 37.9 เมกะวัตต์ และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 26,530 ตันคาร์บอนต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 18,192 ไร่

4. นวัตกรรมการบริหารจัดการขยะ
โมเดลโครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ (อ่านว่า ชุมชนไร้ขยะ)

มาดูนวัตกรรมในรูปแบบโมเดลการจัดการขยะกันดีกว่า

เอสซีจี ถือเป็นผู้ประกอบการรายแรก ๆ ในประเทศ ที่ริเริ่มโมเดลการจัดการขยะแบบครบวงจร
เริ่มแรกที่ “บางซื่อ โมเดล” โดยทดลองทำจริงกับพนักงาน ซึ่งโมเดลที่ว่านี้คือ การแยกขยะเปียกออกจากขยะแห้ง ส่วนขยะแห้งก็แยกตามประเภทวัสดุ เพื่อจะได้นำไปรีไซเคิลได้ง่ายและสะดวกขึ้น

เมื่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีจึงมีการขยายผลสู่ชุมชน โดยเอสซีจี เคมิคอลส์ ได้เริ่มต่อยอดไปยังพื้นที่จังหวัดระยอง ด้วย “ โมเดลชุมชน Like (ไร้) ขยะ” โดยนำเสาหลักของชุมชน ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน มาเชื่อมต่อกับ “ธนาคารขยะชุมชน” จนเกิดเป็นเครือข่าย “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” หัวใจสำคัญของชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ คือ การรณรงค์อย่างต่อเนื่องจนเกิดชุดพฤติกรรม ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น และ ทิ้งให้ถูก

นอกจากนี้ ยังได้สร้างแพลตฟอร์มชื่อ “คุ้มค่า” เพื่อเป็นโซลูชันบริหารจัดการข้อมูลให้กับธนาคารขยะ ช่วยให้ธนาคารขยะและสมาชิก บริหารจัดการข้อมูล ได้อย่างถูกต้อง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

จากจุดเริ่มต้นของโมเดลชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ เมื่อต้นปี 2562 จนถึงเดือนกันยายน 2564
ในพื้นที่จัังหวัด ระยอง สามารถนำขยะรีไซเคิลเข้าสู่ระบบแล้ว กว่า 166 ตัน เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 125 ตันคาร์บอน

รู้อย่างงี้แล้วก็ขอเพียงแค่ ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น และ ทิ้งให้ถูก เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดโลกร้อนได้แล้วนะครับ ถ้ารู้อย่างนี้กันแล้ว มาเริ่มกันวันนี้เลย

5. AI Supervisory for Energy Analytics
(เอไอ ซูเปอร์ไวซอร์รี ฟอร์ เอเนอจี อนาไลติกส์)

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่ทาง SCG Chemicals พัฒนาขึ้นนี้ ใช้ในการตรวจสอบการทำงานที่ผิดปกติของเครื่องจักร ทำให้สามารถคาดการณ์ความผิดปกติ ได้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยง และสามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตามมา คือ สามารถลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และไม่สูญเสียพลังงานไปโดยไม่เกิดประโยชน์

จากการทดสอบติดตั้งเทคโนโลยีในหน่วยการผลิตของ SCG Chemicals พบว่าระบบ AI สามารถช่วยให้เกิดการลดพลังงาน ได้ถึง 11,334 กิกะจูล หรือเทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 470 ตันคาร์บอน ในระยะเวลา 7 เดือน

และทั้งหมดนี้ก็คือการรีวิว 5 นวัตกรรมลดโลกร้อน จาก SCG Chemicals

ถือเป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์การลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเราทุกคนมีส่วนกันทั้งนั้น

เรียกได้ว่าทั้งหมดนี่คือ นวัตกรรมที่ SCG Chemicals สร้างขึ้น
เพื่อรักษา และเปลี่ยนแปลงโลกในวันนี้อย่างแท้จริงครับ

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส