วันนี้เมย์จะมาแบไต๋แนวคิดใหม่ในการทำ Server แบบ dHCI ว่ามันแตกต่างจาก CI และ HCI ที่มีอยู่ในตลาดอย่างไร แล้วถ้าองค์กรของเราเปลี่ยนไปใช้ จะมีข้อดีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ!
ไหมคะว่า เว็บไซต์ที่เราเปิดดูทุกวัน หรือแอปพลิเคชันที่มีอยู่ในเครื่องเรา ต่างถูกรันผ่านเครื่อง Server ที่ตั้งอยู่เป็นร้อยเป็นพันในศูนย์ Data Center กันทั้งนั้นค่ะ
ซึ่งภายในศูนย์นั้นก็จะมีประเภทของเซิร์ฟเวอร์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งส่วนใหญ่ที่หลายองค์กรใช้กันก็จะมี Traditional แบบ CI หรือ Converged Infrastructure และ HCI หรือ Hyper-Converged Infrastructure ค่ะ
ซึ่งปกติแล้วคนที่ทำงานสาย Data Center น่าจะรู้จักกับการออกแบบเซิร์ฟเวอร์แบบ Traditional หรือ CI ใช่ไหมคะ?
ระบบนี้ ถือว่าเป็นระบบเก่า โดยจะนำเครื่อง Server สำหรับประมวลผล, Storage สำหรับเก็บข้อมูล Networking และ Software จากหลายค่ายมาทำงานเชื่อมต่อกัน ตามภาพที่เห็นเลยค่ะ!
Converged Infrastructure
ยังมีการออกแบบ CI หรือ Converged Infrastructure ที่องค์กรจะได้เครื่อง Server ที่มีประสิทธิภาพสูงตรงกับความต้องการ ซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้งานในรูปแบบเฉพาะทาง เช่น Business Application สำหรับธุรกิจค่ะ
แต่ถึงอย่างนั้นก็มีข้อจำกัดอยู่ในเรื่องการปรับแต่ง หรือเพิ่มขยายระบบที่ทำได้ค่อนข้างยาก และพ่วงมากับค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เพราะทุกอุปกรณ์ถูกทำเป็นเซ็ตไว้ตั้งแต่เริ่มต้น หากเปลี่ยนตัวใดตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบกับอุปกรณ์ที่เหลือค่ะ
Hyper-Converged Infrastructure
ด้วยการนี้จึงเกิด Hyper-Converged Infrastructure หรือที่เรียกว่า HCI ขึ้นมา ด้วยการรวมเอาเครื่อง Server ที่ใช้ประมวลผล และ Storage สำหรับเก็บข้อมูลไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการเพิ่มขยายระบบ และช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ค่ะ
ซึ่ง HCI เป็นการออกแบบโดยอิงจากแนวคิดของ Data Center ขนาดใหญ่ ที่เอา Software-Defined Storage ฝังลงไปใน Server ทั้งหมด เพื่อให้ทำงานเป็นผืนเดียวกันค่ะ
ข้อดีของ HCI ก็คือ หากเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหายไป ก็จะมีอีกเครื่องมาทำงานแทนได้ ส่งผลให้ระบบทำงานได้อย่างต่อเนื่องค่ะ และการที่รวม Server และ Storage เข้าไว้ด้วยกัน ก็สะดวกต่อการเพิ่มขยายตามความต้องการ รวมถึงช่วยให้การดูแลระบบเป็นเรื่องง่ายขึ้น
ทำให้ HCI กลายเป็นที่นิยมสำหรับองค์กรในปัจจุบันค่ะ
แต่ถึงอย่างนั้น หากเราต้องการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจง Traditional หรือ CI ก็ยังตอบโจทย์มากกว่า และ HCI ก็ยังมีข้อจำกัดในการเพิ่มขยาย ที่จะต้องมัดรวมทั้ง Server และ Storage ค่ะ ซึ่งในหลายองค์กร อาจต้องการเพิ่มแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ในช่วง 3-5 ปีแรก ต้องเสียเงินมากกว่าที่ควรจะเป็นค่ะ
Disaggregated Hyper-Converged Infrastructure
จุดนี้เลยทำให้เกิดแนวใหม่ขึ้นมาอีก นั่นก็คือ dHCI หรือ Disaggregated Hyper-Converged Infrastructure ที่เป็นการรวมเอาจุดแข็งของ HCI ที่สะดวกต่อการเพิ่มขยาย และ CI ที่มีประสิทธิภาพสูง เข้าไว้ด้วยกันค่ะ
แนวคิดของ dHCI จะเป็นการแยกชั้นของ Server และ Storage ออกจากกันเหมือน CI ในขณะเดียวกันระบบทั้ง 2 ยังคงสามารถทำงานร่วมกันและเชื่อมต่อกันได้อย่างอัตโนมัติ และเพิ่มขยายแบบ Scale-Out เป็นส่วนๆ ได้เหมือนกับ HCI
ทำให้ในระยะสั้น – ยาว สามารถลงทุนขยายเฉพาะส่วนได้อย่างอิสระค่ะ หรือที่เรียกว่า Pay as you grow ค่ะ เช่น ถ้าในช่วง 2 ปีแรกองค์กรของเราต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลเยอะขึ้น ก็เลือกเพิ่มเฉพาะ Storage ค่ะ แต่ถ้าปีที่ 3-4 พลังการประมวลผลเริ่มไม่พอ ก็เติม Server เข้าไปได้ค่ะ
dHCI Alletra 6000
ถ้าถามว่า dHCI จากเจ้าไหนที่ดูน่าสนใจ เมย์คิดว่าเป็นของ HPE ค่ะ ล่าสุดเขาเพิ่งเปิดตัว dHCI Alletra 6000 ในตลาดบ้านเราค่ะ
จุดเด่นของ dHCI Alletra 6000 ก็คือรองรับการเพิ่มขยาย หรือ Scale-Out เฉพาะส่วนได้ค่ะ จะเพิ่มตัว Server ก็ทำได้สูงสุดถึง 32 เครื่อง และสามารถเพิ่ม IOPS หรือปริมาณการอ่านและเขียนไฟล์ต่อ 1 วินาทีได้สูงถึง 3 ล้าน IOPS ค่ะ นอกจากนี้ยังเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูล ได้มากกว่า 9 Petabyte หรือประมาณ 9 ล้าน Gigabytes เลยค่ะ
นอกจากนี้แล้ว dHCI Alletra 6000 ยังรองรับการทำงานในส่วนของ Critical Workloads ทั้งฝั่งของ Virtual Machine หรือ อย่างพวก SQL Server, Oracle, Windows Server เป็นต้น
และยังทำงานได้ดีร่วมกับฝั่ง Container Persistent Storage อย่าง Micro Services ที่เป็น Spark, Github หรือ mongoDB (มองโกดีบี) ได้ด้วยนะคะ เรียกว่าใช้งานได้ยืดหยุ่น จะเป็นงานใหญ่ ๆ ที่ต้องรันผ่าน VM ก็ดี หรือจะแบ่งประสิทธิภาพไปใช้กับแอปที่ทำงานในลักษณะ Micro Services ก็ได้ค่ะ
ตรงนี้เมย์ว่าดีนะคะเพราะเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงจากโลกของ Virtualization ไปสู่โลกของ Contrainer ซึ่งตัว Containers มีจุดเด่นเรื่องการใช้ทรัพยากรที่น้อยกว่า Virtualization มาก
และมีขนาดเล็ก ซึ่งจะลดการใช้พื้นที่ ทำให้เราสามารถเราสามารถรัน Contrainer ได้มากกว่า Virtualization 2-3 เท่าตัวค่ะ
และด้วยประสิทธิภาพขนาดนี้เมย์คิดว่าน่าจะเหมาะกับองค์กรทั้งขนาดกลางและใหญ่ สำหรับองกรค์ที่ใช้ Virtualization อยู่แล้วก็รองรับการต่อยอดไปที่ Platform ของ Containner ได้ด้วยนะคะ
ซอฟต์แวร์ HPE Data Services Cloud Console
ซึ่งปกติเวลาเราซื้อ dHCI Alletra 6000 มาติดตั้งก็คงไม่ได้มีเพียงเครื่องเดียวใช่ไหมคะ อย่างต่ำ ๆ ก็ต้องมี 2-3 เครื่องขึ้นไป ซึ่งทั้งหมดก็จะมีซอฟต์แวร์มาควบคุมอีกทีค่ะ
ซอฟต์แวร์ตัวนั้นก็คือ HPE Data Services Cloud Console หรือ DSCC ค่ะ จุดเด่นของตัวนี้คือ ใช้บริการและจัดการเครื่อง dHCI Alletra 6000 แบบรวมศูนย์ กล่าวคือ เราจะสามารถจัดการ, เข้าถึง, ป้องกัน, ค้นหา และส่งต่อ ได้จากที่เดียวผ่านระบบ Cloud แม้ตัวเครื่องจะอยู่ใน Data Center คนละที่กันก็ตาม
โดยซอฟต์แวร์ตัวนี้ก็ง่ายต่อการใช้งานค่ะ ไม่ต้องมาไล่แก้โค้ดเวลาจะทำการเพิ่มขยายพื้นที่บน Storage จากนั้นก็กดเพิ่มในหน้า Console ได้เลยค่ะ
และเวลาที่เราต้องการจะสร้าง Workload ใหม่ ๆ ขึ้นมาก็ไม่ต้องเซ็ตอะไรให้วุ่นวายเลยค่ะ แค่เลือกความต้องการ ในหน้า Console ให้เรียบร้อย แล้วระบบก็จะทำการเลือก Storage ที่เหมาะกับงานนั้น ๆ มาให้แบบอัตโนมัติเลยค่ะ อันนี้เมย์ว่าสะดวกมาก
ระบบ AI
และปกติถ้าเริ่มใช้งานระบบไปซักพักก็ต้องมีคนคอยมามอนิเตอร์ว่าตอนนี้ระบบเป็นอย่างไรแล้วใช่ไหมคะ แน่นอนว่าต้องใช้เวลาเช็กพอสมควร และบางทีอาจจะเจอตอนที่สายไปก็เป็นได้
ใน dHCI Alletra 6000 ก็เลยมี HPE Infosight ระบบ AI ที่ช่วยตรวจสอบและแก้ไข รวมถึงวิเคราะห์และทำนายปัญหาจากการใช้งาน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตให้กับองค์กรด้วยนะคะ ป้องกันไว้ยังไงก็ดีกว่าแก้ค่ะ
และข้อดีอีกอย่าง คือ HPE InfoSight นั้นมีการดีไซน์มาให้สามารถเติบโต และพัฒนาตัวมันเองไปเรื่อยๆ ตลอดเวลาที่เข้าถึงข้อมูลของบริษัท ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของแพลตฟอร์ม ที่ใช้ Machine Learning หรือ AI ในการเรียนรู้ Database น่าสนใจมากๆ เลยทีเดียว
ความปลอดภัย
เรื่องความปลอดภัย dHCI Alletra 6000 ก็มี Data Protection ในรูปแบบของ Application-Aware ที่แถมมาให้กับตัวเครื่อง ใช้ได้แบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายเลยค่ะ
ทั้งนี้เป็นการสร้าง Backup ข้อมูลไว้เพื่อช่วยให้องกรค์ปลอดภัยจากภัยคุกคาม Ransomware ได้ รวมถึงป้องกันข้อมูลที่สำคัญสูญหายจากความผิดพลาดจาก Human Error อย่างการเผลอกดลบข้อมูลค่ะ กันไว้ยังไงก็ดีกว่าแก้นะคะ
ราคา
สุดท้ายรีวิวที่ดีก็ต้องมีราคาค่ะ สำหรับ dHCI Alletra 6000 จาก HPE มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ เดือนละ 119,000 บาท ค่ะ
โดยราคานี้จะมพร้อมกับ การติดตั้งและซัพพอร์ทจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และระยะการรับประกันถึง 3 ปีเลย ถ้าใครสนใจ เมย์จะขึ้น QR Code ไว้ให้และลิงก์ในแคปชัน ใครสนใจก็กดเข้าไปดูได้เลยนะ