สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ได้เซ็นสัญญากับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 102 ล้านเหรียญ (3,372 ล้านบาท) สำหรับให้บริการขนส่งสัมภาระทางอวกาศแบบจุดต่อจุดภายใต้โครงการ Rocket Cargo ของห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในการเลือกใช้จรวดขนาดใหญ่ของสเปซเอ็กซ์และบริษัทอื่น ๆ ที่ได้ปล่อยออกมาสู่ตลาด
ผู้จัดการโครงการเผยว่ามีสนใจในความสามารถของการขนส่งสัมภาระไปทุกที่บนโลกเป็นอย่างมากเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ซึ่งในสัญญาไม่ได้ระบุว่าจะใช้จรวด Falcon 9 หรือ Falcon Heavy ที่เคยร่วมภารกิจกันมาก่อน แต่คาดว่าน่าจะเป็นสตาร์ชิปที่สเปซเอ็กซ์กำลังพัฒนาสำหรับการขนส่งข้ามโลกแบบจุดต่อจุด
มิถุนายน 2021 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เสนอจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการ Rocket Cargo ในการใช้จรวดขนาดใหญ่ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับบรรทุกสัมภาระและยุทโธปกรณ์ขนาด 100 ตันโดยบินขึ้นไปตามแนววงโคจรของโลกแล้วกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมาลงจอดในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกได้ในเวลา 1 ชั่วโมง
ตุลาคม 2020 กองทัพสหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) และเอ็กซ์อาร์ก (XArc) ในการสร้างระบบขนส่งสัมภาระทางอวกาศแบบจุดต่อจุดไปยังพื้นที่ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
สรุปง่าย ๆ ว่าโครงการ Rocket Cargo ของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ ได้วางแผนมาแล้วหลายปี และเผยว่าสตาร์ชิปมีคุณสมบัติที่เข้าตามากที่สุด ทั้งนี้ช่วงต้นปี 2021 สเปซเอ็กซ์กำลังมีแผนจะทดสอบการบินสตาร์ชิปออกจากเท็กซัสไปสู่อวกาศแล้วข้ามไปลงจอดนอกชายฝั่งของฮาวายโดยใช้เวลาบินทั้งหมดประมาณ 90 นาที
ที่มา : cnet
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส