สถิติขยะพลาสติกในไทย สูงติดอันดับโลก
ก่อนโรคโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด ประเทศไทยมีสถิติขยะพลาสติกประมาณ 12% ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลได้ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน คิดเป็น 25% ส่วนที่เหลืออีก 1.5 ล้านตัน (75%) ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-Use Plastics) เช่น ถุงร้อน ถุงแกง ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก กล่องโฟมบรรจุอาหาร ไม่มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่
แต่ในช่วงโควิด-19 ระบาดเมื่อปี 2563 กลับพบว่ามีขยะพลาสติกเฉลี่ย 6,300 ตัน/วัน โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 15% ของปริมาณขยะพลาสติกเมื่อเทียบกับปี 2562 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนงดออกจากบ้านและใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและอาหารผ่านระบบออนไลน์แทน ประกอบกับการคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อนำมารีไซเคิลน้อยลง เนื่องจากหวั่นเกรงมูลฝอยติดเชื้อที่ทิ้งปะปนมากับขยะมูลฝอยชุมชน
ในเดือนตุลาคม 2563 พบว่าประเทศไทยมีการสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก
ทำให้หลาย ๆ ผู้ผลิตหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุจากอลูมิเนียมกันเพราะสามารถรีไซเคิลได้ 100% และใน 75% ของกระป๋องอะลูมิเนียมที่เคยถูกผลิตมา ยังถูกนำมา Recycle และใช้อยู่ในปัจจุบัน หากมีการรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้แล้ว จะสามารถประหยัดพลังงานในการผลิตได้ถึง 95% อีกด้วย
น้ำดื่มแบไต๋